สรุปการบรรยาย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”

สรุปการบรรยาย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”

หัวข้อที่สองของวันสุดท้าย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”
โดยคุณชัยชนะ มิตรสัมพันธ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)

DSC00601

———————————————————————————————— Read more

เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด

ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา

หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้

เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ

หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่

จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน

Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงน่าสนใจมาก เป็นการนำเสนอเรื่อง การส่งต่อหรือการแบ่งปันข้อมูล
เมื่อเราเจอข้อมูลดีๆ ในอินเทอร์เน็ต เราจะบอกต่อให้เพื่อนๆ ได้รู้ยังไง” ผมว่าน่าสนใจดีเราขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดู

ในภาพนี้เริ่มต้นที่ “เมื่อคุณเจอเรื่องที่น่าสนใจในอินเทอร์เน็ต” และจบด้วยการแชร์ข้อมูลนี้ไปให้คนอื่นๆ
ซึ่งผลสุดท้ายหากดูจากภาพเราจะพบสองประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1. การแบ่งปันนี่มันเยี่ยมไปเลย
2. มันแย่มาก (คุณจะโดนด่าว่าเอามาแชร์ทำไม)

ในภาพ InfoGraphic ตัวนี้ให้ข้อคิดที่ดีหลายเรื่อง ผมขอสรุปดังนี้
– เรื่องการเลือกเรื่องที่จะแชร์ (เรื่องมันน่าสนใจแค่ไหน มันเยี่ยมยังไง ประเด็นที่ต้องการแชร์คืออะไร)
– เมื่อเราเลือกที่จะแบ่งปันข้อมูลแล้ว เราก็ต้องบอกที่มาของเรื่องนั้นๆ ด้วยว่าเรานำมาจากไหน
– ลิขสิทธิ์ในเรื่องหรือรูปภาพหรือสื่ออื่นๆ (ระวังเรื่องการนำมาดัดแปลงนะ)

เอาเป็นว่าก็ดีเหมือนกันนะภาพนี้ เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้
แสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ

ที่มาของรูปนี้ http://loldwell.com/ (เป็นเว็บที่นำเสนอภาพการ์ตูนกราฟิกที่น่าสนใจ)

แบบสำรวจ : แนวทางการให้บริการ Wifi ในห้องสมุด

การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร

ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย

เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ

ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง

[poll id=”18″]

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook

หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน

libraryinfacebook

วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย
ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง

แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ
เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ

ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย
– ชื่อห้องสมุด
– ที่อยู่
– แฟนคลับของห้องสมุด
– ข้อความทักทายผู้ใช้งาน
– รูปภาพของห้องสมุด
– วีดีโอแนะนำห้องสมุด

facebook

เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้
แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก

ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้
– แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed
– จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link)
– ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ
– บริการพจนานุกรมออนไลน์

newlibraryfacebook

ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook

– SUNCAT Search

suncat

– WorldCat

worldcat

– Warwick Library E-Journal Search

warwick-library

– Oxford English Dictionary Search

oxford

เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว
อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ

รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว