17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

เรื่องชวนปวดหัวที่ว่านี้ ผมว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “เรื่องแค่นี้เอง” ไม่เห็นมันจะน่าปวดหัวตรงไหนเลเอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านแล้ว ลองดูนะครับว่าถ้าเพื่อนๆ อยุ่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง 17 เรื่องนี้ เพื่อนๆ จะทำอย่างไร

anigif_enhanced-buzz-6606-1376527348-7

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

1. เมื่อมีคนมาถามคุณว่า “หนังสืออะไรที่คุณชื่นชอบมาที่สุด” และขอให้หยิบมาให้เขาหน่อย
(บางทีหนังสือที่ผมชอบที่สุด ผมอาจจะไม่ได้ซื้อเก็บไว้ก็ได้จริงมั้ยครับ)

2. เมื่อใครบางคนมารบกวนคุณในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเพลินๆ
(บางครั้งอาจจะทำให้ต้องย้อนกลับมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น)

3. เมื่อหนังสือที่อ่าน ถูกำออกมาเป็นภาพยนตร์ แล้วไม่ตรงกับที่เคยอ่าน
(อันนี้เจอบ่อยมากครับ แอบเจ็บใจเล็กๆ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังแล้วออกมาไม่ตรงกับที่เล่า)

4. เมื่อตัวอักษรในหนังสือปะปนอยู่ในรูปภาพจนอ่านไม่รู้เรื่อง
(เรื่องนี้ก็จริงนะ บางครั้งเราเสียสมาธิกับการอ่านเพราะรูปภาพนี่แหละ)

5. เมื่อคุณจะเล่าเรื่องอะไรก็ตามให้กับคนที่เขาไม่ชอบอ่านเรื่องๆ นั้น
(เล่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องฟัง ประเด็นคือ จบ)

6. เมื่อคุณลืมกินหรือนอนเพราะมัวแต่ติดกับการอ่านหนังสือที่ชอบ
(หนังสือที่ชอบอ่านไปอ่านมารู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว….)

7. เมื่อตัวละครที่คุณชอบตาย…  เมื่อคุณคิดว่าเดี๋ยวตัวละคที่ชอบตัวนั้นจะฟื้น มันก็ไม่ฟื้น
(อันนี้ออกแนวเสียความรู้สึกเล็กๆ)

8. เมื่อหนังสือที่คุณชอบถูกวิจารณ์อย่างไม่เข้าท่า
(มาวิจารณ์อะไรนักหนา)

9. เมื่อผู้เขียนหยุดเขียนเรื่อง (ทั้งๆ ที่จะต้องมีภาคต่อ)
(อ่านแล้วค้างคา แบบเซ็งมาหลายเรื่องแล้ว)

10. บางมีคนมาสปอยตอนจบให้เราฟัง
(บ้านเราเยอะนะเรื่องนี้)

11. เมื่อคุณเดินเข้าร้านหนังสือ
(นักอ่านตัวจริงจะต้องเสียเงินมากมาย อิอิ)

12. เมื่อคุณให้คนอื่นยืมหนังสือไปแล้ว เขาคืนกลับมาด้วยสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
(บรรณารักษ์ชวนคิดนะ)

13. (ต่อจากข้อเมื่อกี้) ให้ยืมไปแล้ว ไม่ได้คืนกลับมา
(อันนี้เสียความรู้สึกอย่างหนัก)

14. เมื่อคุณอ่านเรื่องจบแล้ว ต้องรอภาคต่ออีกเป็นปี
(จะให้รอทำไมนานๆ)

15. เมื่อหนังสือทำให้คุณร้องไห้ในที่สาธารณะ แล้วคนรอบข้างคิดว่าคุณบ้าน
(แอบบว่าอินเนอร์มันออกมา คนอื่นไม่เข้าใจอ่ะ)

16. เมื่อเรื่องที่อ่านคลุมเครือไม่ชัดเจน หาที่อ้างอิงก็ไม่ได้
(ต้องรีบหาที่มาทั้งที)

17. เมื่อมีคนพูดว่าคุณอ่านเยอะเกินไป
(ก็เรื่องของฉัน….)

เอาเป็นว่าเรื่องน่าปวดหัวทั้ง 17 เรื่องนี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจได้ง่ายเลย
เพราะเพื่อนๆ คงเป็นนักอ่านกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ….

ที่มาของเรื่องนี้ 17 Problems Only Book Lovers Will Understand
 ปล. อยากให้ดูรูปประกอบมากๆ ตลกดี

Infographic เทรนด์ในการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Reading)

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ

เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ

สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน  15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า

ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า

เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”

ที่มา http://infographiclabs.com/news/e-reading-trends/

Infographic พฤติกรรมที่น่าสนใจของกลุ่มนักอ่าน Ebook

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล Infographic ที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ Ebook นะครับ Infographic นี้นำเสนอเรื่องพฤติกรรมที่น่าสนใจของบรรดาผู้ที่ใช้ Ebook และ Ereader ซึ่งสำรวจข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา

เราไปชม Infographic นี้กันนี้

สรุปข้อมูลจาก Infographic ตัวนี้แบบคร่าวๆ นะครับ

– จำนวนคนที่อ่าน E-book มีมากขึ้น
– คนที่อ่าน E-books ส่วนหนึ่งก็ยังคงอ่านหนังสือที่เป็นฉบับพิมพ์ด้วย
– การเป็นเจ้าของ E-reader ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
– คนอ่าน E-book ส่วนใหญ่ใช้ Ipad ในการอ่าน
– เหตุผลหลักของการอ่าน E-book คือ ความพอใจในอุปกรณ์การอ่าน
– นักอ่าน E-book นิยมการซื้อหนังสือ E-book มาอ่านมากกว่าการยืม E-book จากห้องสมุด


ประเด็นของ Infographic ชิ้นนี้ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปรียบเทียบการใช้งานตามวัตถุประสงค์ด้วย (ระหว่างหนังสือตัวเล่มกับ E-Book)

1. อ่านหนังสือในระหว่างการเดินทาง นิยม E-Book
2. อ่านหนังสือที่มีตัวเลือกเยอะๆ นิยม E-Book
3. การอ่านหนังสือกับเด็ก นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
4. หนังสือที่อยากจะแชร์ให้คนอื่นได้อ่าน นิยม หนังสือที่เป็นตัวเล่ม
5. อ่านหนังสือก่อนนอน นิยม E-Book (คะแนนออกมาสู้สีมาก)
6. หนังสือที่ต้องการอ่านแบบเร็วๆ นิยม E-Book

เอาเป็นว่าที่สุดแล้ว Ebook และ หนังสือแบบตัวเล่มก็ยังคงต่างมีจุดดีและจุดด้อยต่างกัน ที่สำคัญเลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราน่าจะดีกว่านะครับ

กระแสของ Ebook และ Ereader เริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น จนผมเองยังต้องย้ำและนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้มากขึ้นไปด้วย เพื่อให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์รวมไปถึงวงการศึกษาในเมืองไทยเตรียมรับมือและเตรียมพร้อมเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเรา

พวกเราพร้อมหรือยังที่จะเตรียมให้บริการและพัฒนางานบริการของเรา

credit : http://www.onlineuniversities.com/e-book-nation

บรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดตนเองหรือไม่

“คนขายจำเป็นต้องรู้จักสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องเข้าใจสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องรู้ว่าสินค้าของตนเองเป็นอย่างไร”

ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ผมคิดขึ้นมาหลังจากที่ผมไปซื้อของมาชิ้นนึง

เหตุการณ์มันเริ่มจากการที่ผมเดินเข้าไปในร้านขายของที่หนึ่งที่ขายของเฉพาะทาง
ผมตัดสินใจที่จะซื้อของชิ้นหนึ่ง จึงอยากให้คนขายแนะนำสิ่งของที่ผมต้องการซื้อ
ปรากฎว่าเขาแนะนำอะไรไม่ได้เลย จนต้องส่งคำถามเหล่านี้ไปให้คนขายอีกคนจึงอธิบายได้

ผมรู้สึกหงุดหงิดมากที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้

จนผมต้องอุทานว่า “ไม่รู้จักสินค้าของตนเองแล้วจะมาขายทำไม”
ประโยคที่ผมอุทานขึ้นมานี้ เป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะถามในวันนี้นั่นเอง

ลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด ผู้ใช้บริการจะรู้สึกเช่นใด

แน่นอนครับว่าเราไม่ใช่องค์กรเชิงธุรกิจ แต่องค์กรของเราเป็นองค์กรที่เน้นบริการ
ยิ่งคำขวัญของเรา “บริการด้วยใจ (Service mind)” เรายิ่งต้องให้ความสำคัญมากๆ

พื่อนๆ ว่า ตกลงเราควรจะต้องรู้จักหนังสือหรือสื่อความรู้ในห้องสมุดของเราหรือไม่
บรรณารักษ์อย่างพวกเราจำเป็นต้องอ่านหนังสือบ้างหรือไม่

[poll id=”25″]

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบดูนะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาเขียนเล่าให้ฟังแบบเต็มๆ อีกสักตอนนึง

Infographic สมาชิกบล็อกห้องสมุดกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

เพื่อนๆ จำกันได้หรือปล่าว ว่าเมื่อเดือนที่แล้วผมทำแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ (ลองอ่านดูย้อนหลังได้ที่ Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน) ในบทความนั้นผมสัญญาไว้ว่าจะนำผลการสำรวจมาทำเป็น Infographic ให้ชม ไปดูกันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมขอสรุปจากแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วกัน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

– ผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศหญิง 96 คนและเพศชาย 29 คน

– หนังสือในกลุ่มบันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน ได้รับความนิยมในการอ่านมากที่สุด รองลงมาเป็นหนังสืออื่นๆ ทั่วไป และนิตยสาร ส่วนหนังสือในกลุ่มหนังสือพิมพ์และตำราเรียนได้รับความนิยมในการอ่านน้อย (สาเหตุอาจจะมาจากการติดตามข่าวสารผ่านเว็บไซต์รวดเร็วกว่าการติดตามผ่านสื่อสิ่งพิมพ์)

– ช่วงเวลาที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ช่วงเวลากลางคืน (ไม่ได้หมายความว่าอ่านหลังเที่ยงคืนนะครับ แต่เป็นการอ่านหลังจากการทำงานหรือเรียนแล้วกลับมาถึงบ้านตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไป)

– นักอ่านก็ยังคงชอบการอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่

เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบแบบสำรวจในครั้งนี้นะครับ
ไว้วันหลังจะหาข้อมูลอะไรดีๆ แบบดีมาทำเป็น Infographic ให้ดูเล่นกันอีก

ปล. ภาพขยายได้นะครับถ้าคลิ๊กที่รูป นำภาพไปแล้วก็เครดิตให้ด้วยนะครับ

ข้อมูลตั้งต้นสามารถดูได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2011/11/14/poll-libraryhub-reading-for-make-infographic/

Infographic กราฟฟิกดีไซเนอร์กับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ

Inforgraphic ที่นำเสนอวันนี้ เป็น Infographic ที่นำเสนอเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC (ว่าที่ graphic designer) (อาชีพที่ค่อนข้างยุ่งแต่มีเวลาอ่านหนังสือด้วยหรอ)

ภาพๆ นี้จัดทำโดยนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC คนนึง ที่รวบรวมข้อมูลการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วยกัน (Graphic Designer เช่นกัน)

ไปดูภาพกันเลยครับ

Graphic Designer and Reading Habits Infographic

เป็นยังไงบ้าง ว่าที่ Graphic designer ทำ Infographic จากข้อมูลใกล้ตัว (ผมว่ามันเยี่ยมมากจริงๆ นะ)

บทสรุปง่ายของภาพนี้ มีดังนี้

– Graphic Designer อ่านหนังสือเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้หญิงใช้เวลาในการอ่านมากกว่าผู้ชาย
– หนังสือในกลุ่มเรื่องแฟนตาซีถือว่าเป็นหนังสือที่ Graphic Designer ชอบอ่านมากที่สุด
– ช่วงเวลาที่ Graphic Designer อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ช่วงกลางคืน
– Graphic Designer อ่านหนังสือจากตัวเล่มมากกว่าอ่านในสื่อดิจิตอล
– 44% ของ Graphic Designer ในชั้นเรียนนี้อ่านหนังสือมากกว่าดูทีวี
– สถานที่ที่ชอบอ่านที่สุด คือ ที่บ้าน โดยเฉพาะบนเตียงนอน

เห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจจริงๆ นะครับว่า Graphic Designer ยังคงชอบอ่านหนังสืออยู่
เรื่องที่ไม่แปลกใจคือเรื่องสื่อที่อ่านครับ แน่นอน Graphic Designer คงทำงานคอมมาเยอะแล้วจึงขออ่านจากตัวเล่มหนังสือดีกว่าอ่านบนหน้าจอ

ไว้ว่างๆ ผมจะลองทำแบบสอบถามคล้ายๆ แบบนี้แล้วส่งให้เพื่อนๆ ทำดีกว่า
ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าบรรณารักษ์จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นหนอนหนังสือ

ที่มาของภาพ Infographic จาก http://elisabethwdesign.blogspot.com/2011/05/infographic.html

Infographic พฤติกรรมการอ่านของคนอเมริกาเปลี่ยนไปแค่ไหน

วันนี้เจอภาพ Infographic ที่น่าสนใจภาพนึง เกี่ยวกับวงการหนังสือด้วย ผมเลยขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ดูสักนิดนึง ภาพๆ นี้ คือ “ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความนิยมและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของคนอเมริกันที่อ่านหนังสือด้วย E-Reader”

เราไปดูภาพนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับภาพนี้

คำอธิบายเพิ่มเติมในภาพนี้
– E-Reader = อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Kindle, Ipad, Nook
– ชาวอเมริกา 1 ใน 6 คนใช้ E-Reader และมีแผนจะซื้อในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ปัจจุบันใช้แต่ยังไม่ได้ซื้อ)
– อัตราการใช้ E-Reader ในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 8%
– จำนวนการซื้อในปี 2011 มีจำนวน 15% ซึ่งมากกว่าปี 2010  ในปี 2010 มีจำนวน 12%
– จำนวนการอ่านหนังสือจาก E-Reader มีมากกว่าการอ่านหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– จำนวนการซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีมากกว่าการซื้อหนังสือที่เป็นตัวเล่ม
– หนังสือนวนิยายเป็นหนังสือที่คนอ่านเยอะมาก ซึ่งหนังสือในกลุ่มนิยายลึกลับ สอบสวน ปริศนา เป็นหนังสือที่มีคนให้ความสนใจเยอะที่สุด
– หนังสือในกลุ่มสารคดี ผู้อ่านนิยมเรื่องชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา มากทื่สุด

ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นของอเมริกานะครับ ไม่ใช่ประเทศไทย
จริงๆ ผมก็อยากรู้เหมือนกันนะครับว่า ในเมืองไทยจะมีอัตราการอ่านเป็นอย่างไร
จะให้ดีถ้ามีคนนำภาพการอ่านของไทยมาเปลี่ยนเป็น Infographic ก็คงดีไม่น้อย

ที่มาของภาพนี้ http://www.livescience.com/16535-readers-kindle-popularity-infographic.html

โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)

โฆษณาที่ผมนำมาให้ดูในวันนี้มาจากโฆษณาของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ที่นำเสนอเรื่องราวและสนับสนุนให้คนไทยสนใจเรื่องการอ่าน บอกตามตรงเห็นโฆษณานี้ครั้งแรกแล้วโดนใจมากๆ และคิดว่านี่คือการนำเสนอที่ดีจริงๆ

หลายคนคงเห็นโฆษณาตัวนี้ได้มาสักระยะนึงแล้ว เอาเป็นว่าไปชมคลิปโฆษณาตัวนี้กันอีกสักรอบดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Titse-luroU[/youtube]

จากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้เพื่อนๆ ได้แง่คิดอะไรกันบ้าง เห็นข้อดีของการอ่านหรือยัง

ขอเสริมจากคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนี้ เรื่องการอ่านจริงๆ แล้ว ไม่ได้เจาะจงแค่ “อ่านหนังสือ” เท่านั้น
เรายังเรียนรู้จากการอ่านสื่ออื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น อ่านบทความในอินเทอร์เน็ต อ่านจดหมายข่าว ฯลฯ
นอกจากนี้การรับความรู้หรือการทำให้มีสติปัญญา อาจจะมีหนทางมาจากการรับความรู้แบบอื่นๆ ด้วย เช่น การดู การฟัง การพูดคุย ฯลฯ

สิ่งสำคัญของการเกิดสติปัญญา มาจากการเลือกที่จะรับความรู้ที่ดี และต้องมีสติ คิด และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ด้วย
ไม่ใช่แค่อ่านออก อ่านได้ แต่เราต้องอ่านแล้วเข้าใจ รู้ความหมาย และรู้ว่าสื่อต้องการบอกอะไร

“อย่าสักแต่ว่าอ่านเพียงแค่อ่านออก แต่จงอ่านแล้วทำความเข้าใจและคิดตามด้วย”
อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่าการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา

เอาเป็นว่าผมก็ขอฝากเรื่องการอ่านแบบมีสติไว้แต่เพียงเท่านี้นะครับ

รวมภาพสาวสวยกับท่าอ่านที่สุดเซ็กซี่

วันนี้วันชิวๆ ผมขอโพสเรื่องชิวๆ และรูปภาพแบบชิวๆ บ้างดีกว่า
ซึ่งเรื่องและรูปที่นำมาลงนี้เป็นรูปที่ผมนำมาจากหลายๆ เว็บไซต์
และเป็นการค้นหารูปจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (แต่ผมจะอ้างที่มาให้นะครับ)

babes-with-books

วันนี้ผมเข้าไป search ภาพการอ่านหนังสืออยู่ดีๆ ก็ได้พบกับเว็บไซต์นึงเข้า
ซึ่งเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมภาพสาวๆ สุดเซ็กซี่ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือในท่าต่างๆ อยู่

พอเข้าไปดูแล้วเข้าใจเลยว่า การอ่านแบบสวยๆ เป็นอย่างไร
เว็บนี้ก็เข้าใจเลือกรูปเหมือนกันแหะ วันนี้เลยเอาตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 รูปแล้วกัน

ไปดูกันเลยดีกว่า

1. อ่านในที่สาธารณะ ต้องท่านี้ถึงดูดี

readind-1

2. อ่านตามตึกหรืออ่านนอกบ้าน ท่านี้ก็แจ๋วนะ

42-21169891

3. อ่านในห้องนอน หรือ อ่านบนเตียง มันต้องท่านี้เท่านั้น

readind-3

4. ท่านี้แนะนำมากๆ สำหรับสาวๆ ที่ไปห้องสมุด ลองนั่งอ่านแบบนี้ดูสิครับ

readind-4

5. ถ้าไปห้องสมุดแล้วไม่มีเก้าอี้หรือโต๊ะให้นั่งอ่าน ก็ไปอ่านหน้าชั้นหนังสือแบบนี้เลย

readind-5

6. อ่านบนโต๊ะในห้องสมุด ต้องแบบนี้ หนุ่มๆ จะมองตาไม่กระพริบ

42-20620676

ปล. จะเซ็กซี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับหน้าตาด้วยนะครับ อิอิ (ล้อเล่นนะ ขำขำ)

ที่มาของรูปทั้งหมด http://picasaweb.google.com/HardleySurton/BabesWithBooks#

เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง

ปกติเพื่อนๆ คงเคยได้ยินว่าออกกำลังกายเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง
พอมาอ่านบทความเรื่องนี้ของผม เพื่อนๆ จะได้เจอนิยามใหม่ครับ
ว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง” ครับ

use-library-often

ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะต้องบอกว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง”
ความแข็งแรงที่ว่านี้ คือ “ปัญญา” “ความรู้” “ความฉลาด” “สมอง”

เนื่องจากถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วเข้าไปอ่านหนังสือมากๆ
เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ให้ความสนใจ เมื่อเพื่อนๆ อ่านก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านมากขึ้น
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ สงสัยมานาน พอเพื่อนๆ ได้อ่านก็จะคลายความสงสัยและได้คำตอบเหล่านี้ไป
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านแค่ผ่านๆ แต่วันนึงอาจจะต้องนำมาใช้ก็ได้นะ

จากภาพโปสเตอร์ที่ผมนำมาให้ดูนี้
ผมว่าเป็นโปสเตอร์ที่เชิญชวนให้คนเข้าห้องสมุดได้สร้างสรรค์มากๆ เลยครับ
(ตอนแรกนึกว่า ป้ายโฆษณาโรงยิม หรือ สถานที่เพาะกาย)

เอาเป็นว่าลองเก็บไอเดียนี้ไปคิดเล่นๆ ดูนะครับ
สำหรับเจ้าของภาพ คือ Originally uploaded by marklarson