ประเด็นพูดคุยในงาน บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด

อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อวันก่อนว่า ผมได้รับเชิญเป็นผู้ดำเนินรายการของงานเสวนาครั้งนี้ (งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์) ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ จากการเสวนา ผมจะขอสรุปลงมาให้เพื่อนๆ อ่านเพื่อเป็นไอเดียและเล่าสู่กันฟังในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกับห้องสมุด

หัวข้ออย่างเป็นทางการ คือ “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด” ซึ่งถูกเล่าโดย :-
– นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้ และเจ้าของบล็อก Libraryhub

แค่เห็นชื่อและตำแหน่งของผู้ถ่ายทอดเรื่องราวแล้ว ผมขอบอกเลยครับว่าการเสวนาครั้งนี้สนุกแน่ๆ
เพราะเราจะได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างห้องสมุดที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วกัน

การเสวนาครั้งนี้ผมได้ลองตั้งคำถามคร่าวๆ เพื่อถามห้องสมุดทั้งสาม ดังนี้
1. คำถามที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนน้ำมาถึง :
– ข่าวเรื่องน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 มีให้เห็นแทบจะทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงประกาศหรือแถลงการณ์จากรัฐบาลอยู่ตลอด สำนักหอสมุดได้รับรู้ข่าวเหล่านี้และติดตามข่าวบ้างหรือไม่ และใส่ใจกับข่าวเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร
– เมื่อได้รับข่าวสารและรับรู้ว่าน้ำจะมาถึง ห้องสมุดมีการเตรียมตัวอย่างไร
– ในช่วงการเตรียมตัวรับน้ำท่วม ใครมีบทบาทต่อเรื่องนี้มากที่สุด ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ประชาชน

2. คำถามที่เกี่ยวกับช่วงน้ำท่วม
– เมื่อน้ำมาถึงแล้ว หอสมุดได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เสียหายด้านไหนบ้าง แล้วแก้ไขอย่างไรในเบื้องต้น
– บุคลากรของสำนักหอสมุดทำงานกันอย่างไรในช่วงน้ำท่วม และได้รับความช่วยเหลือบ้างหรือไม่
– น้ำท่วมนานแค่ไหน ต้องหยุดให้บริการนานแค่ไหน (รวมตั้งแต่น้ำมาจนน้ำลดและเปิดให้บริการ)
– มีช่องทางอื่นในการให้บริการห้องสมุดหรือไม่


3. คำถามที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูห้องสมุดหลังน้ำท่วม

– สำรวจความเสียหายดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เสียหายมากน้อยเพียงใด
– อะไรที่ต้องรีบดำเนินการหลังน้ำลด เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการ
– น้ำท่วมแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของห้องสมุดตลอดทั้งปีหรือไม่
– งบประมาณที่ต้องใช้ในการฟื้นฟู
– ใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะกลับมาเป็นหอสมุดเหมือนเดิม
– การเรียกขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ


4. คำถามจุดประกายหรือไอเดียเล็กๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม

– ไอเดียการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของ ม รังสิต เรื่องการทาสีต้นไม้ที่ตายแล้วให้ดูสดใสต้อนรับเทศกาลปีใหม่
– สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยช่วยเหลือสังคมหรือชุมชนอื่นๆ รอบๆ มหาวิทยาลัยอย่างไรบ้าง
– การจัดทำแผนเพื่อป้องกันภัยพิบัติด้านต่างๆ (ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อถ่ายทอดสู่สังคม)

5. ทิ้งท้ายก่อนจบเสวนาด้วย “หากปีนี้น้ำมาอีก หอสมุดเอาอยู่หรือไม่”

6. คำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนา

เอาเป็นว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรผมจะนำมาสรุปให้อ่านแน่นอนครับ
ใครที่อยากจะตั้งคำถามก็สามารถตั้งคำถามมาได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ
ผมจะนำคำถามของท่านมาถามให้และสรุปมาให้อ่านแน่นอนครับ

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน

กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที

หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต


ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ

รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

ประกาศรับสมัครบรรณารักษ์ ม.เกษตร

อย่างที่เคยบอกเพื่อนๆ ไปหล่ะครับว่าช่วงนี้งานบรรณารักษ์มีเยอะมากเลย
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ku-library

ตำแหน่งงานในวันนี้ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ไม่ว่าจะเป็นงานบรรณารักษ์ หรือ งานนักเอกสารสนเทศก็ตาม
คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ


มาดูข้อมูลเบื้องต้นของการรับสมัครครั้งนี้กันก่อนนะครับ

ช่วงเวลาที่รับสมัคร : 24 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2552
(ยังเหลือเวลารับสมัครอีกครึ่งเดือนนะครับ)

ตำแหน่งที่รับสมัคร
– บรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายสารสนเทศ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท

แต่เท่าที่ผมลองอ่านคุณสมบัติของตำแหน่งทั้งสามแล้ว
ผมว่าสองตำแหน่งด้านบนเขาจัดให้เพื่อคนที่จบบรรณารักษ์แบบตรงๆ นะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านบรรณฯ)
ส่วนในตำแหน่งที่สามเขาให้คนที่จบสาขาอื่นสมัครนะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านอื่นๆ)

เราลองมาดูทีละตำแหน่งดีกว่า ว่าเขาคาดหวังอะไรกันบ้าง

(ผมขอยกมาแค่สองตำแหน่งบนนะครับ ที่เหลือเพื่อนสามารถเปิดอ่านได้จาก link ด้านล่างนะ)

ตำแหน่งบรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และความสามารถในการบริการ
– มีความรู้และความสามารถในการวางแผนจัดกิจกรรม
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

ตำแหน่งนักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี (ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน)
– มีความสามารถในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษที่ดี
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ แต่ละตำแหน่งไม่คาดหวังเกินไปใช่มั้ยครับ
ระดับปริญญาโทแล้วควรจะสามารถทำได้นะครับ

เกณฑ์ในการพิจารณาก็เหมือนกับทุกที่นั่นแหละครับ
คือสอบข้อเขียนในความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะด้าน และการสอบสัมภาษณ์

หากเพื่อนๆ สนใจ และอยากสมัครให้เพื่อนๆ ขอใบสมัครจากเจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ดาวน์โหลดใบสมัครแล้วนำมายื่นที่
งานการเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด ชั้น 4 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2942-8616 ต่อ 413 นะครับ

อ่านรายละเอียดการรับสมัครงานตำแหน่งนี้ได้ที่ : http://calendar.ku.ac.th/file/jun52.pdf
เว็บไซต์ของหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : http://www.lib.ku.ac.th