LibCampUbon#2 : สารสนเทศท้องถิ่นกับห้องสมุด

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจรกลับมาอีกครั้งแล้วนะครับ ครั้งนี้เราก็ยังคงจัดที่จังหวัดอุบลราชธานีเช่นเคย หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม LibCampUbon#2 โดยหัวข้องานหลักในครั้งนี้ คือ “สารสนเทศท้องถิ่นกับห้องสมุด” หัวข้อเล็กๆ แต่เป็นโครงการใหญ่ของห้องสมุดหลายๆ แห่ง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่องานภาษาอังกฤษ : LibCampUbon#2
ธีมหลักของงาน : สารสนเทศท้องถิ่นกับห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 26 พฤษภาคม 2554
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้จัดงาน : ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี, ศูนย์ความรู้กินได้, เครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่

ทำไมธีมงานในครั้งนี้เราต้องเน้นเรื่องสารสนเทศท้องถิ่นด้วย คำตอบแบบง่ายๆ คือ “เพราะข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นถือว่าเป็นจุดเด่นของการศึกษาพื้นที่ ประวัติความเป็นมา และวัฒนธรรมของคนในพื้นที่นั้นๆ” แล้วห้องสมุดมีบทบาทและอะไรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศท้องถิ่นหล่ะ อีกคำตอบ คือ “ศูนย์กลางแห่งข้อมูลท้องถิ่นที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือห้องสมุดยังไงหล่ะครับ

“สารสนเทศท้องถิ่น เป็นข้อมูลที่มีคุณค่า และมีความสำคัญ สำหรับศึกษาค้นคว้า ความรู้ ภูมิประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น”

หนังสือโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร : LibcampUbon ครั้งที่ 2
“สารสนเทศท้องถิ่นกับห้องสมุด   (Local Information @ Library)

เพื่อนๆ อ่านได้จาก http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampubon2-proposal.html

ผมจะขอสรุปแบบคร่าวๆ ให้อ่านแล้วกันว่าในงานนี้เพื่อนๆ จะได้พบกับหัวข้อที่น่าสนใจอะไรบ้าง
– สื่อสารสนเทศท้องถิ่นมาจากไหน และจะรวบรวมสื่อสารสนเทศท้องถิ่นได้อย่างไร
– การจัดรูปแบบกระบวนการจัดเก็บรวบรวม อนุรักษ์ รักษา สื่อสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรให้เป็นระบบ
– นำเสนอข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ
–  การเรียนการสอนในวิชาสารสนเทศท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร
– กรณีศึกษา : สื่อสารสนเทศท้องถิ่นบนเว็บไซต์ห้องสมุดเมืองไทย
– เสวนาร่วม : ความร่วมมือในการจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วิทยากรที่มาให้ความรู้และพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานนี้ล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีความสามารถและเก่งในเรื่องสารสนเทศท้องถิ่นมากๆ เลยครับ เช่น นักการศึกษา หัวหน้าหอจดหมายเหตุ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์ผู้สอนเรื่องสารสนเทศท้องถิ่น รวมถึงผมเองที่จะพูดในแง่ของสารสนเทศท้องถิ่นบนเว็บไซต์…

งานนี้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ฟรีเช่นเคย ใครสนใจก็ส่งเมล์มาหาผมได้นะครับ
สำหรับใครที่ต้องการจดหมายเชิญก็ส่งเมล์มาหาผมได้เช่นกัน เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญไปให้

งานนี้ไม่อยากให้พลาดอีกเช่นเคย ใครที่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมงานได้ก็ขอเชิญนะครับ ส่วนใครที่ไม่อยากเดินทางไกลในวันนั้นเราจะมีการ live tweet (ถ่ายทอดสดผ่านข้อความใน twitter นาทีต่อนาทีเลย ติดตามได้จาก twitter.com/kindaiproject)
หรือทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ รอติดตามผ่านบทสรุปด้วยการเขียนบล็อกของผมเองก็ได้ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ขอลงข่าว libcampubon แค่นี้ก่อนแล้วกัน สำหรับวันนี้ลาไปก่อนนะ อิอิ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ส่งเมล์มาถามได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

ปล. libcampbkk ไม่ต้องน้อยใจเร็วๆ นี้เราจะจัดที่กรุงเทพฯ แน่นอนครับ สถานที่ตอนนี้ มธ รังสิต เสนอตัวมาแล้ว เรื่องแค่ธีมงานและหัวข้อเล็กๆ น้อยๆ ครับ

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจรกลับมาอีกครั้งแล้วนะครับ ครั้งนี้เราก็ยังคงจัดที่จังหวัดอุบลราชธานีเช่นเคย

Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากมายในการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มาแล้ว
เพื่อนๆ จำนวนหนึ่งจึงเรียกร้องให้เปิดหน้า page ใน facebook ด้วย
เพื่อให้คนที่อยู่นอกสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์เข้ามาเห็นว่ากลุ่มเราก็เข้มแข็งนะ ผมเลยจัดให้ตามคำขอ

เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบว่าตอนนี้กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยเรามี Facebook page แล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/THLibrary

จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของการเปิด Facebook page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จริงๆ ก็คล้ายๆ กับกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยใน facebook นั่นแหละครับ คือ
– เป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาในสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในสาขาวชาชีพเดียวกัน (ห้องสมุดและบรรณารักษ์)
– ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในวงการห้องสมุดและบรรณารักษื เช่น งานบรรณารักษ์ งานอบรมสัมมนา ….
– เป็นเวทีในการรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพ…

นั่นก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์หลักๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงที่มีการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook นะครับ

แต่ในเมื่อเปิด group ไปแล้ว ทำไมต้องเปิด page ด้วย หลายๆ คนก็คงสงสัยเรื่องนี้ใช่มั้ยครับ
เอางี้ดีกว่าผมขออธิบายหลักการคร่าวๆ ของ Page กับ Group ดีกว่าว่าต่างกันยังไง
(เพื่อว่าเพื่อนๆ เมื่อเห็นขอดีของการมี page แล้ว เพื่อนๆ จะเข้ามากด Like เป็นแฟนเพจกับเรามากๆ)

เอาเป็นว่าผมขออธิบายแบบคร่าวๆ อีกสักนิดดีกว่า

จุดเด่นของหน้าเพจ (เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย) อยู่ที่ชื่อของ URL ซึ่งเพื่อนๆ จำได้ง่ายกว่าของ Group ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าหน้าเพจโดยพิมพ์ว่า “www.facebook.com/thlibrary” นอกจากนี้สมาชิกที่เพจสามารถรับได้คือไม่จำกัดจำนวน (แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กังวลเรื่องนี้หรอกนะครับ) แถมด้วยคนที่ไม่ได้เล่น facebook (ไม่มี account ของ facebook) ก็สามารถเปิดหน้าเพจของเราได้ ซึ่งต่างจาก group เพื่อนๆ ต้อง log in ก่อนถึงจะเข้าดูข้อมูลข้างในได้ อีกความสามารถหนึ่งที่น่าสนใจคือ สมาชิกสามารถสร้างอัลบั้มรูปและแชร์รูปภาพได้มากมาย ซึ่งใน group เองเราโพสได้ทีละ 1 รูปเท่านั้น

ความสามารถต่างๆ ของ page ถือว่าดีมากๆ จุดประสงค์อีกอย่างที่ผมเปิด page นี้คืออยากให้คนภายนอกได้เห็นความร่วมมือและกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย คนนอกไม่เคยรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เราจะได้ใช้พื้นที่บนหน้า page นี้อธิบายว่าห้องสมุดหรือบรรณารักษ์มีอะไรมากกว่าที่ทุกๆ คนคิด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเหตุผลคร่าวๆ ว่าทำไมผมถึงต้องเปลี่ยนจาก group เป็น page
แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าถึงจะมี page แล้ว แต่ผมก็จะไม่ปิด group หรอกครับ

เพราะอย่างน้อยก็ยังมีเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายให้เพื่อนๆ อ่าน

เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอฝาก Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ
อย่าลืมเข้ามากด Like กันเยอะๆ นะ http://www.facebook.com/THLibrary

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ไม่ได้อัพเดทบล็อกตัวเองนานมากๆ เพราะมีอะไรหลายๆ เรื่องเข้ามารบกวน
วันนี้ได้โอกาสเข้ามาอัพเดทเลยอยากเขียนถึงจุดกำเนิดของบล็อกเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสาร “โดมทัศน์” ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub

เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ

“คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”

มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้

เริ่มคิด…เริ่มค้นหา…

ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก

ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม

ชื่อบล็อกสำคัญไฉน

เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง

หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้

เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้

1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3. การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

เขียนบล็อกไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในการเขียน ชื่อบล็อกและอุดมการณ์ของบล็อก เรื่องยากที่หลายๆ คนชอบพูดถึงก็คือ ?แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อก? คำแนะนำต่อจากนี้ก็มาจากเพื่อนผมอีกเช่นกัน เพื่อนผมบอกว่า ?ให้เราคิดว่าบล็อกก็เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งของเรา เราอยากเขียนอะไรลงไปก็เขียนได้ จะเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันก็ได้ เอารูปมาลงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นทางการมากก็ได้? เพียงแค่นี้แหละครับทำให้ความคิดผมมองการเขียนบล็อกว่าง่าย ผมจับเอาเรื่องการทำงานในแต่ละวัน ข่าวสาร และความคิดเห็นของผมใส่ลงไปในบล็อกทุกวัน วันแรกๆ อาจจะเขียนแค่สามสี่บรรทัด พอผ่านไปสักเดือนผมก็สามารถเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง

ตัวอย่างแนวทางในการเขียนเรื่องในบล็อก Projectlib และ Libraryhub

– นำบทความจากบล็อกบรรณารักษ์ ห้องสมุดต่างประเทศมาแปล
– ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานเสวนา สัมมนา ที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์ ห้องสมุด หรืองานอื่นๆ ที่น่าติดตาม
– แนะนำห้องสมุดที่ผมไปเยี่ยมชมด้วยการถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวห้องสมุด
– ตำแหน่งงานห้องสมุดก็สามารถนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้
– เทคโนโลยีที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรติดตาม
– คลิปวีดีโอจาก Youtube ที่พูดถึงวงการห้องสมุด
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกคือเราสามารถเขียนได้ทุกเรื่อง ขอแค่เราฝึกและเขียนบ่อยๆ เราก็จะชินไปเอง

เครื่องมือฟรีๆ บนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้คนรู้จักเครือข่ายของเรา

เมื่อเรามีบล็อกส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดคือการให้คนอื่นได้เข้ามาอ่าน และเข้ามาแสดงความคิดเห็น ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าเราได้ฝึกฝีมือเราไปเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องมือฟรีๆ ที่ผมนำมาใช้สร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ ได้แก่

– จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มีไว้สำหรับการอัพเดทข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อกให้เพื่อนๆ ติดตาม
– MSN / Gtalk มีไว้สำหรับสนทนาออนไลน์ และตอบคำถามออนไลน์กับเพื่อนๆ สมาชิก
– Skype มีไว้สนทนาออนไลน์และประชุมงานออนไลน์ (คุยเป็นกลุ่มเครื่องมือนี้ขอแนะนำ)
– Hi5 ? Librarian in Thailand มีไว้รวบรวมกลุ่มบรรณารักษ์ที่เล่น hi5
– Facebook มีไว้พูดคุย ตอบคำถาม ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของบล็อก (กระแสกำลังมาแรง)
– Twitter มีไว้กระจายข่าวสารให้เพื่อนๆ นอกวิชาชีพได้เข้าใจถึงงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
– Slideshare มีไว้เผยแพร่สไลด์ไฟล์นำเสนอในงานเสวนาต่างๆ ซึ่งเป็นสไลด์ที่ผมทำเอง

นี่ก็เป็นเพียงเครื่องมือฟรีๆ ส่วนหนึ่งที่ผมใช้อยู่ และเครื่องมืออีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวจริงๆ ก็ยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งหากเพื่อนๆ มีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของผมต่อได้ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้นบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ควรจะตามให้ทันด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จาก Projectlib สู่บ้านใหม่ Libraryhub

หลังจากที่ดำเนินการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ได้ระยะหนึ่ง บล็อก Projectlib ที่อาศัยของฟรีอย่างเดียวก็มีความต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนชื่อ การย้ายพื้นที่ของบล็อก ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องมีการลงทุน (เสียค่าใช้จ่าย) โดยหลังจากที่ปรึกษาพี่ๆ ในวงการเว็บไซต์หลายคน ผมจึงได้ข้อสรุปในการลงทุนครั้งนี้

จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย 1 ปีเพียงแค่ 700 บาทซึ่ง คิดเฉลี่ยแล้ววันละไม่ถึง 2 บาท เป็นการลงทุนที่ไม่มากเกินไปหรอกครับ เทียบกับผลที่ได้แล้วมันคุ้มกว่ามาก ได้ความเป็นส่วนตัวของบล็อก แถมยังเพิ่มลูกเล่นให้บล็อกเราได้อีกมากมาย

กิจกกรมจากโลกออกไลน์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

นอกจากกิจกรรมออนไลน์แล้ว ผมให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมบนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น

– งาน Libcamp คืองานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ ซึ่งปีที่แล้วจัดไป 3 ครั้ง งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ด้วย
– งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายองค์กรชวนผมไปช่วยจัด ก็ได้รับความสนใจจากคนในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมอย่างดี
– ตัวกลางในการรับบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดที่ยังขาดแคลนหนังสือ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ผมให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ละเลยกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

อนาคตและทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ในอนาคต การเพิ่มบทบาทของเครือข่ายต่อวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจะมีเพิ่มขึ้น โดยอาจจะทำความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาวงการห้องสมุด เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ หรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งการสร้างเครือข่ายและร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นสิ่งที่วิชาชีพกำลังต้องการในตอนนี้ นอกจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแล้ว กิจกรรมสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้นด้วยเนื่องจากสมาชิกของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ซึ่งมีกระจายตัวอยู่หลายจังหวัด และช่วงนี้มีแผนที่จะเขียนหนังสือสำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีหนังสือออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

บทสรุปแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็วของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ผมคงไม่วัดด้วยการบอกว่ามีจำนวนเรื่องที่เขียนและสมาชิกมากเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จที่ผมได้จากการเขียนและสร้างชุมชนแห่งนี้คือ การที่วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดตื่นตัวกันเรื่องการพัฒนามากกว่า จากสามปีที่แล้วที่ผมเปิดบล็อกในช่วงนั้นผมแทบจะหาคนที่เขียนเรื่องห้องสมุดไม่ได้ จนวันนี้ห้องสมุดหลายๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเว็บไซต์และบล็อก เพียงเท่านี้แหละครับผมก็พอใจมากแล้ว

บทความที่จะทำให้รู้จักผมเพิ่มเติม

เจ้าของบล็อก projectlib.wordpress.com – http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html
Projectlib – Librarian 2.0 – http://tag.in.th/interview?show=projectlib
มาทำความรู้จักกับเจ้าของ Libraryhub – http://www.libraryhub.in.th/my-portfolio/

เอาเป็นว่าหากอ่านบนบล็อกแล้วรู้สึกว่ามันยาวเกินไป ผมก็อนุญาติที่จะให้เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแล้ว print ไปอ่านครับ
โหลดได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/Projectlib-Libraryhub.pdf

เอาเป็นว่าก็หวังว่าจะเป็นการกลับมาอีกครั้งที่เพื่อนๆ จะให้การต้อนรับผมนะ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า

เครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ อุบลราชธานี = LibcampUbon

หายไป 1 ปีกว่าๆ ในที่สุดงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ (งาน Libcamp) ก็กลับมา
ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่เป็นการจัดงาน Libcamp ในต่างจังหวัดครั้งแรกของเมืองไทย
ซึ่งผมใช้คำว่างานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)

ขอรำลึกความหลังของงาน Libcamp สักเล็กน้อย เผื่อหลายคนจะยังไม่รู้จักงานนี้

งาน LibCamp คือ งานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของวงการห้องสมุดครั้งแรกของเมืองไทย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจงานด้านห้องสมุด บรรณารักษ์ศาสตร์ และการจัดการความรู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับงาน Libcampbkk ผมสรุปไว้ให้อ่านที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampbkk-to-libcampubon.html

เข้าเรื่องเลยดีกว่า งานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)
จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ธีมของงานนี้ คือ “การใช้สื่อท้องถิ่นและสื่อออนไลน์ในงานห้องสมุด”

หัวข้อที่น่าสนใจในงาน LibcampUbon#1
– กรณีศึกษาความสำเร็จของห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
– ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดผ่านสื่อในท้องถิ่น
– กรณีศึกษา : Facebook กับงานห้องสมุด
– กรณีศึกษา : การทำบล็อกห้องสมุด
– คำแนะนำในการสร้างเว็บความรู้ของท้องถิ่น

ร่างโครงการงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)อ่านได้ที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampubon1-proposal.html

งานนี้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ฟรีเช่นเคย ใครสนใจก็ส่งเมล์มาหาผมได้นะครับ
สำหรับใครที่ต้องการจดหมายเชิญก็ส่งเมล์มาหาผมได้เช่นกัน เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญไปให้

งานนี้ใครมาไม่ได้ (เพราะว่าไกล) ผมแนะนำให้ติดตามได้ผ่าน twitter #libcampubon
เข้าไปที่ http://twitter.com/#!/search/libcampubon1
เพราะว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่คอยอัพเดทข้อมูลและสรุปงานสัมมนาตลอดทั้งวัน

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต้องขอตัวไปเตรียมความพร้อมงานนี้เหมือนกัน
สำหรับคนกรุงเทพยังไม่ต้องน้อยใจ ปีนี้ผมสัญญาว่ามีงาน libcamp ในกรุงเทพเช่นเคยแน่ๆ
ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่เร็วๆ นี้

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ส่งเมล์มาถามได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554

เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม
เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน

สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก
กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า

– “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้
– ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง
– การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ

– “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้
– คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ

– “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ
– สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
– ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี

– Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry

– “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้
– ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย
– ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ

– Link : Conference Participation Grants = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : จัดห้องสมุดเป็นของขวัญวันเด็ก =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contentID=115785

– “อยากรู้จังว่ามีวันสำคัญที่เกี่ยวกับห้องสมุดบ้างไหมคะ”? ผลสรุปมีดังนี้
– วันรักการอ่าน 2 เมษายนของทุกปี
– สัปดาห์ห้องสมุด ต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
– วันก่อตั้งห้องสมุด วันเปิดห้องสมุด …..


– “ใครใช้ Zotero แล้วบ้าง ขอข้อมูลด้วยค่ะ ลง version ไหนดีค่ะ”? ผลสรุปมีดังนี้

– แนะนำให้อ่านใน link : http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=zotero%3Astart
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ไม่มีปัญหาใดๆ
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ร่วมกับ winword integration 3.0b1


– ประเด็นสำหรับวันที่ 18 มกราคม 2554 “เรื่องการแต่งกายเข้าห้องสมุดโดยเฉพาะสถานศึกษา / มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ในการวัดความสุภาพอย่างไร เช่น กรณีกระโปรงสั้นๆ กับ กางเกงใส่ถึงเข่า —-> แล้วห้องสมุดประชาชนมีกฎระเบียบแบบนั้นหรือปล่าว” ผลสรุปมีดังนี้

– จากการสำรวจสาเหตุในการไม่เข้าห้องสมุดพบว่ามาจากเงื่อนไขเรื่องการแต่งกาย ซึ่งพบมากในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย
– ทำไมนิสิตที่ใส่กระโปรงสั้นถึงเข้าห้องสมุดได้ แต่กลับไม่ให้คนใส่กางเกงขาสั้นเข้าไป บางทีกระโปรงสั้นกว่ากางเกงด้วยซ้ำ แล้วกางเกงขาสั้นบางทีก้อประมาณเข่าแต่เข้าไม่ได้
– วิธีแก้ไขแต่ละห้องสมุดก็มีวิธีของตัวเอง เช่น นำภาพมาประกอบการอธิบาย หรือ การตักเตือนในช่วงแรกๆ หรือ หาตัวอย่างมาประกอบ
– เรื่องการแต่งกายให้สุภาพไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ถ้าจะตั้งกฏแต่ละที่ก็ควรให้ชัดเจน
– เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับทุกห้องสมุดนะคะ เพราะนโยบายและการให้บริการของห้องสมุดบางทีก็ขัดกับนโยบายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาแต่งชุดนักศึกษาเมื่อมามหาวิทยาลัย ฯ แต่ห้องสมุดต้องการเปิดกว้างให้แก่ผู้ใช้ ต้องการให้มีผู้มาใช้ห้องสมุดเยอะ ๆ บวกกับนักศึกษาไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบอีก
– เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอสมควรนะคะ สำหรับคำว่าแต่งกายสุภาพ เพราะวุฒิภาวะต่างกัน การวัดความสุภาพไม่เหมือนกัน
– รู้จักถึงความเหมาะสมครับ กระโปรงต้องไม่สั้นจนมันจะเปิดหวอ เสื้อต้องไม่รัดจนกระดุมทำงานหนัก ใส่แล้วแต่งแล้วเดินไปหมาไม่เห่าก้พอ
– พยายามหาและระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งก็ยากทีเดียวค่ะ

– “ปัจจุบันนี้การทำกฤตภาค(การตัดข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ)ยังมีสอนบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอยู่ไหมคะ และกฤตภาคนี่ลดความสำคัญลงไปมากตั้งแต่มีการใช้ internet ห้องสมุดยังควรต้องมี(บรรณารักษ์ควรต้องทำ)กฤตภาคอยู่ไหมคะ” ผลสรุปมีดังนี้
– ตัดเก็บเฉพาะเหตุการณ์สำคัญๆ
– ในแง่การสอน ไม่ได้สอนให้ทำในรูปแบบเดิมแล้วค่ะ แต่ให้เขาเห็นและใช้บริการทั้งแบบเดิมและแบบใหม่
– สำหรับห้องสมุดเฉพาะ เช่น ที่แบงก์ชาติ กฤตภาคยังจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาผู้บริหารขององค์กร อาจจะทำเองหรือจ้างคนอื่นทำ หรือบอกรับฐานข้อมูลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนสนองความต้องการได้มากที่สุด


– “ห้องสมุดบางแห่งนำไอทีเข้ามาใช้แต่แทนที่จะทำงานได้เร็วขึ้นกลับกลายเป็นว่าทำงานช้ากว่าเดิมหรือทำในรูปแบบเดิม” ผลสรุปมีดังนี้

– ควรไปดูงานห้องสมุดม.มหิดล, STKS, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ ที่นำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็น

– Link : เมื่อคนช่วยกันยืมหนังสือจนหมดห้องสมุด ประชดทางการ!!! (ที่จะปิดห้องสมุด) = http://www.newyorker.com/online/blogs/books/2011/01/the-run-on-stony-stratford.html

– Link : all Magazine แจกฟรี ! ให้ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ยืมหนังสือเกลี้ยง! ประท้วงแผนปิดห้องสมุด = http://hilight.kapook.com/view/55420

– “คำศัพท์ของห้องสมุด(Eng->Thai)ไม่ทราบหาจากที่ไหน” ผลสรุปมีดังนี้
– วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ = A cyclopedia of librarianship / โดย จารุวรรณ สินธุโสภณ
– ศัพท์บัญญัติวิชาบรรณารักษศาสตร์ / คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณรักษศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ
http://stks.or.th/thaiglossary/


– “ไอเดียการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนมัธยม” ผลสรุปมีดังนี้

– น่าจะมีรางวัลคนขยันอ่าน — ประกวดเรียงความ ฉันรักหนังสือ — เล่าเรื่องจากนิยายสนุก ๆ –เชิดหุ่น — โต้วาที — วันรักการอ่าน(ประกอบด้วยเกม-สอยดาว-นิทรรศการ-ห้องสมุดแรลลี่ — เกมค้นหาเพื่อตอบคำถามชิงรางวัล ฯ)
– กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน
– โครงการอ่านวันละนิด จิตแจ่มใส ของสำนักพิมพ์แจ่มใส
– กิจกรรมในลักษณะเกมต่างๆ ก็จะช่วยปลุกเร้าได้ดีค่ะ รูปแบบของเกมหาได้ตามหนังสือประเภทคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั่วไป
– แฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด
– reading rally ก็ดีค่ะ จัดเป็นฐาน จัดค่ายรักการอ่านก็ได้
– กิจกรรมคนศรีห้องสมุดสุดยอดนักอ่าน / กิจกรรม นักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ / กิจกรรม เสียงตามสาย เกี่ยวกับสารานุกรมไทย / ตอบปัญหาสารสนุกรมไทย


– “สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องการคัดหนังสือหรือการจำหน่ายหนังสือออกจากห้องสมุด” ผลสรุปมีดังนี้

– คัดเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับองค์กร, หนังสือเก่าแต่มีคุณค่ามี 2 วิธีดำเนินการคือ อนุรักษ์ เช่น ส่งซ่อมทำปกใหม่ ทำความสะอาด ได้คุณค่าหนังสือเก่า หรือควรจะซื้อเล่มนั้นใหม่ (มีจัดพิมพ์ใหม่หาซื้อได้) แล้วจึงส่งไปอนุรักษ์
– แนะนำ Link น่าอ่านดังนี้ http://www.md.kku.ac.th/library/main/newsletter/new07-53.php , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/policy.pdf , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/manul.pdf
– เรื่องของเนื้อหาด้วย เพราะเนื้อหาในแต่ละกลุ่มมีความเฉพาะอีก เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งเก่ายิ่งควรเก็บ หนังสือคอมล่าสมัยเร็ว

– “มีห้องสมุดธรรมะที่ไหนน่าฝึกงานบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– เหล่าบรรณารักษืแนะนำ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงฆ์, มหามกุฎ กับ มหาจุฬา, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

– ไอเดียที่น่าสนใจ : “เด็กแข่งกันสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Search Engine ผมคิดว่าทางห้องสมุดสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ห้องสมุดได้”

– ประชาสัมพันธ์ : “สมัครสมาชิกและต่ออายุ TKpark ฟรี 21-23 มกราคม นี้เท่านั้น บัตรใหม่มีให้เลือก 5 ลาย รีบๆ มาสมัครกันได้ เลย”

นอกจากประเด็นที่สรุปลงมาในนี้แล้ว บางอันผมไม่ขอเอาลงนะครับ เช่น น้องๆ เอกบรรณปี 2 จากสถาบันต่างๆ เข้ามาแนะนำตัวกันเยอะมาก และประเด็นเรื่องที่ไม่มีคนตอบ ก็ขอละเอาไว้ไม่สรุปแล้วกัน อีกส่วนคือมีคอมเม้นต์แต่ผิดประเด็นกับคำถามที่ตั้ง เช่น เรื่อง xml technology แต่กลายเป็นว่าคำตอบออกไปเรื่องฝึกงาน ก็ไม่ได้นำมาลงแล้วกัน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันผลักดันกลุ่มเครือข่ายของเรากันต่อไป
นี่แหละครับพลังขับเคลื่อนวิชาชีพและวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554

ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ
ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย

เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

– “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้
– เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น
– รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง
– ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว


– “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้

– จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
– กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย

– Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0

– Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo

– “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้
– มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
– ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
– บรรณารักษ์สวยๆ
– บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
– สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
– โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้

– Link : all Magazine แจกฟรี ! แก่ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ข่าว….โครงการรักการอ่าน จาก บมจ.ซีพี ออลล์ = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179960038704679&id=141179349231903

– “จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”? ผลสรุปมีดังนี้
– ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
– ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
– กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
– บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
– เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
– รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
– ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ

– “ขอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO กับห้องสมุด”? ผลสรุปมีดังนี้
– ลองปรึกษาที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
– หอสมุดวิทยาศาสตร์ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นอีก 1 แหล่ง ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ version 1998และปัจจุบัน 2001


– “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ลดโลกร้อนได้เยอะครับ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
– แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
– ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
– อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
– มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
– หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้


– Link – ดัน 10 ล้าน แปลวิกิฯ เป็นภาษาไทย มุ่งเป็นอันดับ 2 ภาษาท้องถิ่นออนไลน์ =
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32634?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29&utm_content=Twitter

– “การนำ WALAI AutoLib มาใช้ในห้องสมุดมหาลัยเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร” ผลสรุปมีดังนี้
– ห้องสมุดที่ใช้ Walai Autolib เช่น ศูนย์บรรณฯ ของม.วลัยลักษณ์ สำนักหอสมุด ม.อุบลฯ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ฯลฯ

– “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไ่ม่เข้าใจงานของเรา)
– ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
– ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
– ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้

– Link : 2011 Grant Funds to attend IFLA 2011 = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : แนะนำฐานข้อมูล อาหารพื้นบ้านล้านนา จัดทำโดยงานศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/

– Link : Dead Poets Society = ครูครับเราจะสู้เพื่อฝัน = http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march06p2.htm

สัปดาห์นี้เรื่องราวในกลุ่มเริ่มคึกคักกันมากขึ้นนะครับ
ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มของเราก็ 383 คน ก็ถือว่าพอรับได้
(เมื่อวันที่ไปบรรยายที่ ม.รังสิต มีคนบอกว่าน่าจะมีสัก 2011 คนตามปีเลย)

เอาเป็นว่าสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
ที่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook = http://www.facebook.com/pinksworda#!/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 1/2554

สวัสดีปีใหม่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook กลับมาพบกันในสัปดาห์แรกของปี 2554
ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มบรรณารักษ์และห้องสมุดของเรามีการโพสน้อยกว่าปกติ เพราะวันหยุดเยอะ

เอาเป็นว่าวันที่ 1 – 7 มกราคม 2554 กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมเลย

– Link : เก็บเล็กผสมน้อยกับการดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเว้ แห่งประเทศเวียดนาม = http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=513

– “ขอคำแนะนำในการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์ ว่ายากมั้ย เรียนที่ไหนดี” ผลสรุปมีดังนี้

– เพื่อนๆ แนะนำให้เรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มศว (หลักสูตรใหม่ดี)

– “ขอแนวคิดในรูปแบบการพัฒนางานบริการแบบใหม่ เอาใจวัยทีนยุคใหม่”? ผลสรุปมีดังนี้
– ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่เข้ามาบริการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รู้ เช่น twitter, facebook
– บริการด้วยความรวดเร็ว เพราะวัยรุ่นไม่ชอบรออะไรนานๆ (ตอบคำถามเร็ว) เช่น ผู้ใช้ถามมาทางเมล์เราก็ต้องรีบตอบ
– จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงาน GEN Y ให้กับผู้บริหาร (แบงค์ชาติเสนอแนวนี้มา)


– Link : คุณลักษณ์ของผู้เรียนสำหรับโลกอนาคต? =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=660&contentID=111923

– Link : 6 ขั้นตอนในการจัดทำ Social Media Marketing = http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=446

– Link ที่เกี่ยวกับบทความเรื่อง Library2.0 ซึ่งมีดังนี้

http://www.stks.or.th/blog/?p=816
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132
http://iteau.wordpress.com/2007/06/15/library2_0attcdc/
http://www.slideshare.net/boonlert/web-20-1806213
http://media.sut.ac.th/media/VDO/116/1689-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94+2.0+%28Library+2.0%29.embed
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=61961
http://tcdclibrary.wordpress.com/2008/09/06/library-20/

– “CAS ในห้องสมุด ย่อมาจากอะไร และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันกับ SDI อย่างไร”? ผลสรุปมีดังนี้

– CAS เป็นบริการข่าวสารทันสมัย เช่น สรุปข่าวประจำวัน หน้าสารบัญวารสารใหม่ ส่วน SDI เป็นบริการข้อมูลเฉพาะเรื่องแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการหรือ request ข้อมูลนั้น เช่น รวบรวมข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่นักวิจัยเฉพาะคนหรือเฉพาะกลุ่มที่ทำวิจัยเรื่องนั้นๆ อยู่

– Link : การสร้างเสริมประสิทธิภาพของสมอง Grow your mind = http://cid-9236d6851044637b.office.live.com/self.aspx/.Public/20110105%20-%20brain.pdf

– Link : อาชีพบรรณารักษ์ – ทำไม”ครูบรรณารักษ์”เป็นยากจังครับ??? =
http://atomdekzaa.exteen.com/20110105/entry

นอกจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้แล้ว ประเด็นที่บรรณารักษ์เขียนถึงเยอะก็คือ “การสวัสดีปีใหม่และอวยพรพี่น้องชาวห้องสมุด” นั่นเอง
เอาเป็นว่าปีนี้ผมสัญญาว่าจะทำงานเพื่อห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ดีที่สุดแล้วกันครับ สัปดาห์นี้ก็ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#3

สรุปประเด็นและความคืบหน้าของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยในช่วงวันที่ 22-27 ธันวาคม 2553 มาแล้วครับ
ประเด็นที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์มีเพียบเหมือนเคย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

– 22/12/53 = “ช่วยแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุดแบบเจ๋งๆ ให้หน่อย” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุด ดังนี้ TCDC, Tkpark, หอสมุดแห่งชาติ, ม.ศิลปากร, แบงค์ชาติ, ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดกรมวิทย์, STKS เอาเป็นว่าก็เป็นแนวทางที่ดีนะครับ

– “ความขัดแย้งระหว่างบรรณารักษ์ยุคเก่าที่ไม่ยอมรับไอทีกับบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่อะไรๆ ก็ไอที เราจะประณีประนอมยังไง” มีผลสรุปผลดังนี้
– พยายามพูดคุยกันให้มากๆ และคำนึงถึงผู้ใช้บริการ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบเก่าหรือใหม่ที่สุดแล้วเราก็ต้องทำให้ผู้ใช้บริการของเราพอใจที่สุด
– ยึดตามแผนและ นโยบายของห้องสมุด ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด
– หาคนกลางที่ช่วยคอยประสานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
– เด็กรุ่นใหม่ก็ควรให้ความเคารพผู้ใหญ่หน่อยเพราะว่าเราอยู่ในสังคมไทยก็ทำตามผู้ใหญ่แล้วกัน
– เอาข้อดีข้อเสียของการทำงานมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนและเลือกใช้มันให้ถูก

– ร่วมกันแสดงความยินดี สำนักหอสมุด ม.นเรศวร ที่ได้รับรางวัลชมเชย : สถาบันอุดมศึกษา ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ “การให้บริการห้องสมุดด้วยรูปแบบสมัยใหม่” รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการ/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ประจำปี 2553 จากสำนักงาน ก.พ.ร.

– “ความเหมือนและความต่างระหว่าง Wikileaks และ Facebook” มีดังนี้
– สิ่งที่เหมือนกัน : Wikileaks และ Facebook มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานหรือเรื่องส่วนตัว
– สิ่งที่แตกต่างกัน : Wikileaks เน้นไปที่การเผยแพร่ความลับทางการฑูตและความลับของรัฐบาลทั่วโลก ส่วน Facebook เน้นการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว ความรู้ ความบันเทิงระหว่างกลุ่มสมาชิก

– “หนังสือหมวดใดในห้องสมุดของพวกคุณมีผู้ใช้บริการอ่านมากที่สุด…” มีผลสรุปดังนี้
– เพื่อนๆ ช่วยกันสรุปซึ่งประกอบด้วยหมวดนวนิยาย เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน

– “บรรณารักษ์ วันคริสมาส และเทศกาลปีใหม่ เกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร? แล้วห้องสมุดมีจัดกิจกรรมอะไรที่เป็นพิเศษหรือไม่” มีผลสรุปดังนี้
– ห้องสมุดแม่โจ้ จัดกิจกรรม ส่งความสุข (ส.ค.ส.)? โดยแจกโปสการ์ดให้ผู้ใช้บริการ
– มอ.ปัตตานีจัดกิจกรรมคริสมาสต์พาโชคค่ะ ให้ผู้ใช้ตอบคำถามง่าย ๆ เกี่ยวกับบริการของห้องสมุด เมื่อตอบถูกแล้ว ให้หยิบฉลากรางวัลซึ่งแขวนไว้ที่ต้นคริสมาสต์
– งานวารสาร ห้องสมุด มรม. จัดกิจกรรมแฟนพันธุ์แท้ สะสมแต้มรับสิทธิจับฉลากปีใหม่

– “เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะทำกิจกรรม KM สำเร็จโดยไม่ยึดติดกับ Model ใดๆ”? มีผลสรุปดังนี้
– การมีโมเดลจะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้ทิศทางและมุ่งไปด้วยกันทั้งองค์กร
– การไม่ยึดโมเดลก็ไม่มีผลถ้าเรามีวิธีการแลกเปลี่ยนหรือจัดการความรู้จะมีหรือไม่มีก็ไม่มีผล
– KM เป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจ ให้ แบ่งปัน เรียนรู้


– วิจารณ์บทความเรื่อง “บรรณารักษ์แบบไหน? ที่สังคมไทยควรมีในห้องสมุด” มีผลสรุปดังนี้

– คนเขียนก็มีมุมมองเรื่องบรรณารักษ์และห้องสมุดในมุมมองแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องไปสนใจหรอก
– การที่มีคนเขียนแบบนี้ก็ดีอีกแบบ คือ มีคนช่วงเป็นกระบอกเสียงให้พวกเรา และกระตุ้นให้รัฐบาลได้ตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสักที
– คนเราย่อมมีมุมมองคนแบบเราก็อาศัยมุมมองเหล่านี้มาปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้

– แนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เช่น
World Public Library Association – http://worldlibrary.net/
World eBook Fair – http://www.worldebookfair.org/
“เปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก” ครั้งที่2 ปี2554 – http://www.nanmeebooks.com/reader/news_inside.php?newsid=761
ทำความรู้จักหลักสูตรแบบ 4+2 ของกระทรวงศึกษาธิการ – http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=21795&Key=news_chaiyos
ห้องสมุดดิจิตอลแหล่งรวมหนังสือดีสำหรับเด็ก – http://en.childrenslibrary.org/
ห้องสมุดดิจิทอล World Digital Library – http://www.wdl.org/en/

– ประชาสัมพันธ์งานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีการศึกษา 2553 ระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม 2554 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

– MV เพลง “บุ๋ง” ซิงเกิ้ลที่สองจาก มารีญา ถ่ายในห้องสมุดด้วย ไปลองดู http://www.youtube.com/watch?v=UYn2bI1J65Q

เอาเป็นว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีเรื่องคร่าวๆ แบบนี้แหละครับ
ไม่แน่ใจว่ายาวไปหรือปล่าว ผมว่ากำลังดีนะ อาทิตย์ก่อนที่ยาวเพราะว่าดองไว้เกือบสองอาทิตย์
อาทิตย์นี้เลยต้องรีบเขียนเพราะจะได้ประเด็นและใจความสำคัญเต็มที่ ไม่อยากเน้นน้ำเยอะเดี๋ยวจะอ่านแล้วเบื่อซะก่อน

ปล. link ของบล็อกผมที่นำมาโพสที่นี่ผมไม่นำมาลงสรุปนะครับ เพราะเพื่อนๆ คงได้อ่านกันแล้ว

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2

วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้

– 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้
– ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง
– การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
– ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้

– 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้
– เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด
– ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library

– จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้
– บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ
– ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้
– โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง”
– เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต”

– “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง”
– เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The mummy, The Shawshank Redemption, The Librarian quest for the spear, Heartbreak Library, จอมโจรขโมยหนังสือ, Beautiful life, NIGHT AT THE MUSEUM, Whisper of the heart, เบญจรงค์ 5 สี

– “ในการพัฒนาห้องสมุดเฉพาะ (และต้องทำงานคนเดียว) จะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การอ่านอย่างไร ให้เข้าถึงผู้ใช้มากที่สุด” มีผลสรุปดังนี้
– ส่งเสริมผ่าน Web 2.0 เช่น Social Network ควบคู่ไปกับ ส่งจดหมายข่าวผ่านช่องทาง Email
– กลยุทธ์ ปากต่อปาก (ของดีต้องบอกต่อ)
– หิ้วตะกร้าใส่หนังสือ นิตยสารไปส่งถึงที่ (ประมาณ book delivery)

– “การเก็บสถิติห้องสมุด มีประโยชน์อย่างไร และ เรื่องใดที่ควรเก็บสถิติ ?” มีผลสรุปดังนี้
– สถิติการยืม+การใช้ภายใน (in house use) เพื่อดูว่าหนังสือเล่มใดที่มีการใช้น้อยมากๆ จะได้หาทางประชาสัมพันธ์
– “ใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนการทำงานทุกอย่าง เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการตามจุดต่างๆ การเคลื่อนย้ายที่มีเสียง การจัด event การจัดโปรโมชั่น การประชุมของเจ้าหน้าที่ ฯลฯ”
– แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/25/new-technology-and-best-practice-in-library-services/ และ http://www.thailibrary.in.th/2010/11/29/library-stat/

– “โครงการไทยเข้มแข็งที่ช่วยยกระดับครูบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน” มีหลักการคือ สพฐ. ให้ภาควิชาบรรณารักษ์ อักษรจุฬาฯ ทำคู่มืออบรม เชิญอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษ์ทั่วประเทศมาอธิบายวิธีใช้คู่มือ แล้วให้กลับไปจัดอบรมและเป็นวิทยากรในพื้นที่ของตัวเอง

– กระทู้นี้น่าคิด “เมื่อไหร่บรรรณารักษ์จะมี “ใบประกอบวิชาชีพ”” มีผลสรุปดังนี้
– อยากให้มี ยกระดับมาตราวิชาชีพ และการยอมรับของสังคม ให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพบรรณารักษ์ให้มากขึ้น
– จะสามารถทำได้ถ้ามี พรบ.สภาวิชาชีพบรรณารักษ์ ซึ่งต้องปรึกษานักกฎหมาย
– ข้อจำกัดและอุปสรรค คือ ต้องหาองค์กรที่มารับรองวิชาชีพของเราด้วย ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเข้มแข็งเช่นกัน
– น่าสนใจ “ทาบทามผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษ์ ทาบทามนักกฎหมาย แล้วก็ร่าง พรบ.ร่วมกัน ระหว่างนั้นให้ศึกษาแนวทางในการจัดตั้งสภาบรรณารักษ์ มารองรับ พรบ.”

– หน่วยงานไหนทำ Institutional Repository คลังปัญญาของตัวเองบ้าง
– ผลสรุปจากเพื่อนๆ เสนอมาหลายหน่วยงาน ได้แก่ ม.สงขลานครินทร์, ม.ศรีปทุม, ม.ขอนแก่น, ม.จุฬา, กรมวิทยาศาสตร์บริการ

– “สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหน่อยครับ ว่าขณะนี้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใดใช้เทคโนโลยีแล้วบ้าง และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
– หน่วยงานที่มีการใช้งาน เช่น ม.พระจอมเกล้าลาดกระบัง, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ, ม.รังสิต, ห้องสมุดแบงก์ชาติ, สำนักวิทยบริการ มรภ.พิบูลสงคราม
– ใช้เพื่อตรวจหาหนังสือที่วางผิดที่ผิดทาง, ใช้ตอนทำ inventory, ให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ
– ข้อเสียส่วนใหญ่มาจากเรื่องของเทคนิคมากกว่า บางแห่งเจอในเรื่อง server ล่ม
– แนะนำให้อ่าน http://www.student.chula.ac.th/~49801110/

– โปรแกรมเลขผู้แต่ง น่าเอาไปใช้ได้ ไม่ต้องเปิดหนังสือ http://www.md.kku.ac.th/thai_cutter/

– ภาพถ่ายของห้องสมุดการรถไฟฯ เพื่อประชาชนจังหวัดหนองคาย เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรณารักษ์มากๆ

– แนะนำ Facebook ของศูนย์ความรู้กินได้ http://www.facebook.com/kindaiproject

– วีดีโอของรายการเมโทรสโมสรมาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี http://www.youtube.com/watch?v=DzZqyVzCwtw

– ตัวอย่างการทำวีดีโอเปิดตัวศูนย์ความรู้กินได้ http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis

– กระทู้ยอดฮิตและผมต้องยกนิ้วให้มีสองเรื่องครับ โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ผมก็ลืมคิดไปในช่วงแรก คือ การแนะนำตัวว่าแต่ละคนทำงานที่ไหนหรือเรียนที่ไหน ส่วนเรื่องที่สองมาจากกระทู้ของน้องอะตอมในเรื่องครูบรรณารักษ์ที่มีหลายๆ คนแสดงความเห็น เอาเป็นว่าอันนี้ต้องไปอ่านกันเองนะครับไม่อยากสรุปเพราะกลัวจะทำให้เกิดการแตกแยก อิอิ เอาเป็นว่าอ่านกันเองมันส์กว่าครับ

สำหรับอาทิตย์นี้ผมต้องขออภัยในการอัพเดทล่าช้ามากๆ นะครับ เนื่องจากผมไม่มีเวลาในการเขียนบล็อกเลย
เอาเป็นว่าวันนี้บล็อกอาจจะยาวไปมาก แต่คร่าวหน้าสัญญาว่าจะอัพเดทให้ตรงเวลานะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1