10 แนวโน้มการตลาดห้องสมุดที่บรรณารักษ์ต้องให้ความสนใจในปี 2025

10 แนวโน้มการตลาดห้องสมุดที่บรรณารักษ์ต้องให้ความสนใจในปี 2025

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่สำหรับอ่านหนังสืออีกต่อไป แต่ยังกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน การเรียนรู้ และการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้บริการ บรรณารักษ์และผู้ดูแลห้องสมุดจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มการตลาดที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2025

10 แนวโน้มการตลาดห้องสมุดที่บรรณารักษ์ต้องให้ความสนใจ ประกอบด้วย

  1. การตลาดดิจิทัลที่มีการใช้ข้อมูล (Data-Driven Marketing)
    การใช้ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญในการวางกลยุทธ์การตลาด บรรณารักษ์ควรเรียนรู้การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้จากฐานข้อมูล เช่น การยืมคืนหนังสือหรือการค้นหาในระบบออนไลน์ เพื่อปรับปรุงบริการให้ตรงใจผู้ใช้มากขึ้น
  2. การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างชุมชน (Social Media Engagement)
    การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram และ TikTok จะช่วยให้ห้องสมุดเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น โดยเน้นการใช้ภาพและวิดีโอที่ดึงดูดความสนใจ
  3. การสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience – UX)
    การออกแบบประสบการณ์การใช้บริการที่ดี ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การพัฒนาระบบจองหนังสือที่ใช้งานง่าย หรือการจัดพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และทำงานร่วมกัน
  4. การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยในการบริการ (AI-Powered Services)
    AI สามารถช่วยปรับปรุงการบริการ เช่น การแนะนำหนังสืออัตโนมัติ หรือการตอบคำถามเบื้องต้นผ่าน Chatbot ทำให้ผู้ใช้ได้รับบริการที่รวดเร็วและตรงจุด
  5. การนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบใหม่ (Content Innovation)
    คอนเทนต์ในรูปแบบ Podcast หรือวิดีโอสั้นเกี่ยวกับหนังสือที่แนะนำ สามารถดึงดูดความสนใจของคนรุ่นใหม่และเพิ่มการเข้าถึงห้องสมุดได้มากขึ้น
  6. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
    การจัดกิจกรรมหรือเวิร์กช็อปที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาทักษะดิจิทัลหรือทักษะการเขียนโปรแกรม จะทำให้ห้องสมุดเป็นที่ยอมรับในฐานะศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
  7. การใช้ VR และ AR ในห้องสมุด (Immersive Technologies)
    เทคโนโลยี VR และ AR สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ เช่น การจัดนิทรรศการเสมือนจริงหรือการเรียนรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ ทำให้ห้องสมุดมีความทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น
  8. การปรับตัวเข้ากับความยั่งยืน (Sustainability Practices)
    แนวคิดความยั่งยืนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องสมุด เช่น การลดการใช้กระดาษหรือการใช้พลังงานทางเลือก เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
  9. การสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก (Collaborations)
    การจับมือกับหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร สามารถเพิ่มโอกาสในการจัดกิจกรรมและเพิ่มความหลากหลายให้กับบริการของห้องสมุด
  10. การปรับตัวตามเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ (Gen Z and Millennial Trends)
    การทำความเข้าใจความต้องการของคนรุ่นใหม่ เช่น ความชอบในเทคโนโลยี การเรียนรู้ออนไลน์ หรือการใช้งานแอปพลิเคชัน จะช่วยให้ห้องสมุดยังคงเป็นที่นิยมและทันสมัย

ตัวอย่างการทำการตลาดของห้องสมุดที่น่าสนใจสำหรับปี 2025

  1. แคมเปญแนะนำหนังสือด้วย AI (AI-Powered Book Recommendations) : ห้องสมุดสามารถใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลการยืมหนังสือและพฤติกรรมการค้นหาของผู้ใช้ เพื่อแนะนำหนังสือหรือเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจแต่ละบุคคล เช่น ระบบส่งอีเมลรายสัปดาห์หรือแอปพลิเคชันที่ให้คำแนะนำอัตโนมัติ ช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและเพิ่มการกลับมาใช้บริการซ้ำ
  2. จัดกิจกรรม Hybrid Events : การจัดงานที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น เวิร์กช็อปเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลหรือการเสวนากับนักเขียนที่มีชื่อเสียง โดยผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเข้าร่วมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือมาร่วมงานที่ห้องสมุด เพิ่มความยืดหยุ่นและดึงดูดผู้ใช้ได้หลากหลายกลุ่ม
  3. สร้างพื้นที่ Co-Learning Space : การตลาดโดยการสร้างพื้นที่ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น โซนสำหรับสตาร์ทอัพที่ต้องการที่ทำงานชั่วคราว หรือพื้นที่ให้เยาวชนทำโปรเจกต์ร่วมกัน จะช่วยให้ห้องสมุดกลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และนวัตกรรมในชุมชน
  4. แคมเปญบน TikTok หรือ Instagram Reels : โปรโมตห้องสมุดด้วยวิดีโอสั้น เช่น รีวิวหนังสือใน 30 วินาที ทริคการใช้งานระบบออนไลน์ของห้องสมุด หรือเบื้องหลังการทำงานของบรรณารักษ์ วิธีนี้ช่วยดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ Gen Z และ Millennials ที่ชื่นชอบเนื้อหาสั้นและเข้าใจง่าย
  5. ระบบสมัครสมาชิกแบบพรีเมียม (Premium Membership) : ให้ผู้ใช้มีตัวเลือกสมัครสมาชิกพิเศษ เช่น สิทธิ์เข้าถึงคอร์สออนไลน์เฉพาะทาง การจองพื้นที่ทำงานล่วงหน้า หรือสิทธิพิเศษในกิจกรรมบางอย่าง วิธีนี้ไม่เพียงเพิ่มรายได้ แต่ยังสร้างความรู้สึกพิเศษให้กับผู้ใช้บริการ

การตลาดห้องสมุดในปี 2025 จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยแนวโน้มเหล่านี้ ห้องสมุดจะยังคงเป็นพื้นที่สำคัญที่เชื่อมโยงการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ในอนาคต

ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ChatGPT แนะนำให้ผมเขียนเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์แบบนี้

ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า “เรื่องที่เขียนในวันนี้ ไม่ได้มาจากการหมดไฟ หรือ หมดไอเดียที่จะเขียนเรื่องราวของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์นะครับ” แต่มาจากการอยากลองสิ่งใหม่ๆ มากกว่า

หากกล่าวถึง ChatGPT ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายแล้ว ณ ตอนนี้ เพราะเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนก็คงรู้จัก และหลายคนก็คงใช้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน

Read more
โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

หากกล่าวถึง Trend ด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด หนึ่งในบรรณารักษ์ที่ผมตามอ่าน คือ “David Lee King” ซึ่งเขาจะอัพเดทและทำสไลด์เรื่องนี้ทุกปี (และผมก็ชอบนำมาใช้ประกอบการบรรยายบ่อยครั้ง) ปีก่อนๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านในบล็อกของผมย้อนหลังได้ แต่ปีนี้ 2019 มาอ่านในเรื่องนี้กันดีกว่า

ก่อนอื่นผมขอแนะนำ “David Lee King” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันก่อน

Read more
ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

เปิดเรื่องวันนี้ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับ การติดตามกระแสคำสืบค้น และ Trend ในวงการวิชาชีพแบบง่ายๆ และใช้เครื่องมือที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ให้เพื่อนๆ ทราบและลองใช้กันดู ไปดูเรื่องที่ผมเขียนเป็นตัวอย่างกันได้เลยครับ

กระแสคำสืบค้น “ห้องสมุด” ในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 เวลา 19:37 น.

Read more
ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ แต่มีไอเดียมากมาย

ช่วงที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง “จุดเปลี่ยนห้องสมุดในยุค digital transformation” ให้หน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้น และมีคำถามจากสไลด์ที่ผมใช้ถามผู้เข้าร่วมงานเสมอๆ คือ

  1. อนาคตห้องสมุดจะหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
  2. ผู้ใช้บริการยังคงมาใช้บริการห้องสมุดอยู่หรือไม่
  3. ถ้าไม่มีหนังสือสักเล่มในห้องสมุดจะเป็นไปได้แค่ไหน
  4. บรรณารักษ์ต้องพัฒนาทักษะอะไรเพื่อให้อยู่รอด
Read more
นายห้องสมุดสรุปไอเดียจากการไปงาน “EDTECH DEMO DAY”

นายห้องสมุดสรุปไอเดียจากการไปงาน “EDTECH DEMO DAY”

ช่วงนี้ผมออกมาหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อเติมความรู้และหาไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด ซึ่งงานสัมมนาด้านห้องสมุดก็มีค่อนข้างเยอะ แต่ขอออกนอกงานห้องสมุดบ้าง เพื่อทำความเข้าใจโลก และอาจได้ไอเดียจากวงการอื่นมาช่วยในงานห้องสมุดก็เป็นได้

งานที่ผมเข้าร่วมในวันนี้ คือ “STORMBREAKER VENTURE — EDTECH DEMO DAY” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ VC (Venture Capital) 3 แห่งชั้นนำ ได้แก่ Disrupt, 500 TukTuks และ Beacon ซึ่งงานนี้เน้นกลุ่ม Startup ด้านเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติวงการศึกษาในบ้านเรา

Read more

ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

วันนี้มีโอกาสมาเดินเล่นหลังเลิกงานแถวๆ สยาม แบบว่าเดินไปเรื่อยๆ จนถึงหอศิลป์ ก็เลยเดินเข้ามา พบงานสัมมนาหนึ่งจะจัดในช่วงเย็น ซึ่งหัวข้อของงานสัมมนานั้นคือ “New Technologies in the 21st Century Museum” เห็นแว่บแรกก็สนใจทันที ก็เลยสอบถามคนที่รับลงทะเบียนหน้างานว่าเข้าร่วมได้หรือไม่ เขาบอกว่าแค่ลงทะเบียนแล้วเดินเข้าไปได้เลย ก็เลยเข้ามาลองฟังดูเผื่อได้ไอเดียมาใช้ในงานห้องสมุด

วิทยากรหลักในงานนี้มาจากต่างประเทศ
ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต (ภัณฑารักษ์ประจำ National Museum of African American History and Culture)
คุณชวิน สระบัว ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ Google Street View ประเทศไทย

Read more

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เคยเห็นตู้กดน้ำแบบหยอดเหรียญ ตอนนี้มีขนม มาม่า ผลไม้ …
ขายได้ทุกอย่างผ่าน Vending machine
และเครื่อง Vending machine ในปัจจุบันก็ไม่ได้รับแค่เหรียญกับธนบัตรอีกแล้ว
เพราะตอนนี้สามารถเชื่อมต่อกับ e-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ได้แล้วด้วย

มานั่งคิดๆ ดู แล้วในวงการห้องสมุดสามารถทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้บ้างได้มั้ย
หากใครไปงานหนังสือสองสามครั้งล่าสุด หรือเพิ่งไปเดินเล่นแถวสยาม
เราจะได้เห็นเครื่องจำหน่ายหนังสืออัตโนมัติของร้าน Zombie Book Read more

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับห้องสมุดมากเป็นพิเศษ
(เพราะต้องเตรียมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้)
เว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจและผมอ่านประจำ คือ http://www.techsoupforlibraries.org/

5-library-technology-topics-from-techsoup-for-libraries

ซึ่งหัวข้อที่ผมขอหยิบมาเขียนและเล่า คือ Your Top 5 Library Technology Topics โดย Ariel Gilbert-Knight
เขาพูดถึง Topic ที่น่าสนใจของรายการ Webinar ใน TechSoup for Libraries 5 เรื่องที่ต้องตามดู
ซึ่งหากใครสนใจผมขอนำ link วีดีโอทั้ง 5 ลงไว้ให้ตามดูด้วยนะครับ

Read more