เดี๋ยวนี้ห้องสมุดก็นำ Tablet มาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้กันแล้ว

หลายวันก่อนในกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องการนำ Tablet มาใช้ในห้องสมุด ว่ามีที่ไหนให้ใช้บริการบ้าง และให้ใช้บริการอย่างไร วันนี้ผมจึงขอนำตัวอย่างที่ห้องสมุด TK park มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ

จุดให้บริการ Tablet ของ TK Park จะอยู่ที่ห้อง MindRoom
และใช้ได้ในจุดที่กำหนดเท่านั้น นั่นคือ ห้อง Mindroom

เอาง่ายๆ คือไม่ได้มีไว้ให้ยืมออกครับ และที่ต้องกำหนดในมุม เท่านั้นเพราะเพื่อความปลอดภัยและการดูแลจากเจ้าหน้าที่

Tablet ที่ให้บริการ คือ Acer Iconia A100
ซึ่งใน TK Park มีให้บริการจำนวน 3 เครื่อง

ภายใน Tablet จะบริการเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย Content หลักๆ คือ
– TK E-Book ชุด “วัตถุเล่าเรื่อง”
– TK Audio Book หรือสื่อการเรียนรู้หนังสือเสียง
– TK Valuable Book หรือสื่อการเรียนรู้ชุด “ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน”
– TK Game Book
– TK eBook
– Read Me Egazine

ลองมาดูคลิปวีดีโอ Review กันหน่อยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_YN-_ootboY[/youtube]

เอาเป็นว่า ณ เวลา เที่ยงของวันอาทิตย์ที่ผมมาสังเกตการณ์อยู่ตอนนี้ ยังไม่มีผู้เข้ามาใช้ Tablet เลย
ดังนั้นใครที่สนใจอยากจะมาทดลองใช้ Tablet เพื่อการเรียนรู้ในห้องสมุดก็ขอเชิญได้นะครับ ที่อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park นั่นเอง

ปล. ห้องสมุดไหนที่มีโครงการจะจัดหา Tablet เพื่อนำมาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ก็สามารถปรึกษาห้องสมุด TK Park ได้นะครับ

สรุปบรรยาย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน

กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอจะมีเวลาอัพบล็อกเหมือนเดิม จึงขอประเดิมด้วยสรุปเรื่องที่บรรยายให้โรงเรียนค้อวังวิทยาคมแล้วกันนะครับ โดยต้องขอเกริ่นสักนิดนะครับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไปบรรยายในต่างจังหวัดด้วยตัวเอง (ห้องสมุดหรือหน่วยงานในต่างจังหวัดไหนอยากให้ผมไปบรรยายก็ติดต่อมาทางเมล์แล้วกันนะครับ อิอิ)

รายละเอียดเบื้องต้นของการบรรยาย
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาไทย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาอังกฤษ : Innovation and Technology for School libraries
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
วันและเวลา : วันที่ 19 กันยายน 2554 เวลา 9.00 – 16.30 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนค้อวังวิทยาคม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
หน่วยงานที่จัดงาน : โรงเรียนค้อวังวิทยาคม

การบรรยายในครั้งนี้จะเน้นในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถนำมาใช้ในห้องสมุดมีมากมาย แค่คิดให้ได้และจับกระแสให้ดีเท่านี้ห้องสมุดของเราก็จะมีชีวิตขึ้นทันที

สไลด์ประกอบการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

สรุปการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

การบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

1. ช่วงเช้า เรื่อง นวัตกรรม-ห้องสมุดโรงเรียน

– ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” โดยสรุปผมให้นิยามคำนี้ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน คำว่าใหม่ในที่นี้วัดจากการเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรหรือใหม่ในความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”

– ห้องสมุดเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…นับจากอดีตที่คนเข้ามาห้องสมุดเพื่ออ่านอย่างเดียว ก็เริ่มเข้ามาดูหนังฟังเพลงในห้องสมุด และคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ก็เข้ามาในห้องสมุด….จนบัดนี้เราเห็นอะไรในห้องสมุดบ้างหล่ะ

– กรณีศึกษา การทำงานบรรณารักษ์ครั้งแรกของผม ที่ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยจนกลายมาเป็นห้องสมุด ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก การจัดทำกฤตภาคออนไลน์ด้วยตนเอง การสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดไม่ง่ายและไม่ยาก ทำงานห้องสมุดต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย (โจทย์ทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุดเยอะๆ)

– กรณีศึกษา การทำงานเป็นนักพัฒนาระบบห้องสมุด ที่ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มองภาพรวมของการทำงานให้ได้ การสร้างแนวทางในการทำงานบรรณารักษ์ในรูปแบบใหม่ๆ สิ่งง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ มีเยอะแยะเลย เช่น กล่องความรู้กินได้ ชั้นหนังสือในแบบโครงการศูนย์ความรู้กินได้ กิจกรรมการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด แนวทางในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด การใช้ Pathfinder ฯลฯ

– อะไรคือนวัตกรรมในวงการห้องสมุดได้บ้าง เช่น การนับจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากคนเป็นเครื่องมือ , การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัตรรายการเป็น OPAC , บริการใหม่ๆ จากเดิมที่ห้องสมุดต้องรอให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเป็นห้องสมุดต้องออกไปบริการผู้ใช้บริการข้างนอกเอง , กิจกรรมแก้กรรมจาก ม.ศิลปากร ฯลฯ

2. ช่วงบ่าย เรื่อง เทคโนโลยี-ห้องสมุดโรงเรียน

– บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง (เรื่องนี้บรรยายบ่อยมากลองหาอ่านย้อนหลังได้ เช่น http://www.libraryhub.in.th/2011/08/12/e-medical-librarian-and-social-network/)

– ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน…สร้างเองได้ มองเรื่องทั่วๆ ไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ ยิ่งเราได้เห็น อ่าน ฟังมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีไอเดียมากขึ้นเท่านั้น การ Copy คนอื่นจะดีมากถ้า copy แล้วต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน

– บรรณารักษ์ กับ โปรแกรมเมอร์ ต่างกันตรงที่ บรรณารักษ์เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ไอทีรวมถึงแนะนำการใช้ไอทีให้ผู้ใช้บริการ ส่วนโปรแกรมเมอร์รับคำสั่งให้สร้างและออกแบบโปรแกรมหรือไอทีเพื่อใช้งาน

– ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

– เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) เช่น Blog, E-mail, MSN, Twitter, Facebook, Youtube, Flickr, Slideshare

แถมให้อีกสไลด์นึงแล้วกันนะครับ เป็นตัวอย่างการนำ Web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด

– กรณีศึกษาเรื่องการใช้บล็อก บล็อกทำอะไรได้บ้าง และ องค์กรต่างๆ ใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างการใช้งานบล็อก Projectlib และ Libraryhub ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เขียนบล็อก นวัตกรรมที่หลายคนไม่เคยคิดเกี่ยวกับบล็อก คือ การสร้างแม่แบบไว้เผื่อเวลาไม่รู้จะเขียนอะไรก็นำแม่แบบมาประยุกต์ได้

– Facebook กับการใช้งานในห้องสมุด ตัวอย่างการใช้งาน facebook เช่น แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในห้องสมุด, ตอบคำถามและรับฟังความคิดเห็น, ทักทายพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการออนไลน์, โปรโมทบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุด, เชิญเพื่อนๆ เข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุด, ให้บริการออนไลน์, โพสรูปกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด

– กรณีศึกษาการใช้ facebook ที่น่าสนใจ ดูได้ที่
1. http://www.facebook.com/thlibrary (กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย)
2. http://www.facebook.com/groups/133106983412927/ (กลุ่ม Librarian in Thailand)

– การดูแลสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด

1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
2. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
6. นำภาพกิจกรรมมาลงใน facebook ทุกครั้ง

– ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2010/12/24/social-media-and-library-trends-for-2011/)

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทสรุปของงานบรรยายของผมในครั้งนี้ เอาเป็นว่าพรุ่งนี้ผมจะนำรูปภาพของห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมมาลงให้ดูด้วยแล้วกันนะครับ วันนี้ก็ขอลาไปพักก่อนนะครับ
ภาพการอบรมทั้งหมดในวันนั้น
[nggallery id=47]

ห้องสมุดดิจิทัล คือ 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ

วันนี้เจอบทความดีๆ ที่มีเรื่องห้องสมุดอยู่ในนั้น ผมก็เลยขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังต่อนะครับ
บทความนี้มาจาก “10 Technologies That Will Transform Your Life” จากเว็บไซต์ http://www.livescience.com

10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มีดังนี้
อันดับที่ 10 Digital Libraries (ห้องสมุดดิจิทัล)
อันดับที่ 9 Gene Therapy and/or Stem Cells (เซลล์ต้นกำเนิด)
อันดับที่ 8 Pervasive Wireless Internet (อินเทอร์ไร้สาย)
อันดับที่ 7 Mobile Robots (หุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมได้)
อันดับที่ 6 Cheaper Solar Cells (เครื่องเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)
อันดับที่ 5 Location-Based Computing (เทคโนโลยีการระบุพื้นที่)
อันดับที่ 4 Desktop 3-D Printing (การพิมพ์ภาพแบบสามมิติ)
อันดับที่ 3 Moore’s Law Upheld (กฎของมัวร์ในเรื่องประสิทธิภาพและขนาดของชิป)
อันดับที่ 2 Therapeutic Cloning (การโคลนนิ่ง)
อันดับที่ 1 The Hydrogen Economy (พลังงานน้ำ, พลังงานทดแทน)


เป็นยังไงกันบ้างครับ 1 ใน 10 ของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ คือห้องสมุดดิจิทัล (อันดับที่ 10)
นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของเราชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้นะครับ

เมื่อเรารู้ว่าห้องสมุดดิจิทัลสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนแล้ว
พวกเราในฐานะคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์ขอสัญญาว่าจะพัฒนาวิชาชีพนี้ต่อไป
เพื่อให้ห้องสมุดตอบสนองการใช้ชีวิตของคนในสังคมต่อไป

50 เหตุผลที่บรรณารักษ์ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์ก็ควรยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น
ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการทำงาน การบริหารงาน รวมถึงเทคโนโลยี
ผมว่ามันก็ต้องมีเหตุผลของการที่ทำสิ่งใหม่เข้ามา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ก็แก้ปัญหาเดิมๆ ได้

และแน่นอนครับว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้บรรณารักษ์บางส่วนไม่พอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของงานไอที
คำถามหลักที่จะต้องเจอต่อมาคือ “ทำไมถึงไม่ยอมรับหรือเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆหล่ะ”

คำตอบของคำถามนี้อยู่ในแผนภาพด้านล่างนี้ครับ

ภาพนี้เป็นภาพจากบล็อก http://13c4.wordpress.com ซึ่งพูดถึงเรื่อง “50 เหตุผลที่ไม่ยอมเปลี่ยน

ในภาพอาจจะมองไม่ค่อยเห็น เอาเป็นว่าผมขอยกตัวอย่างมาสักเล็กน้อยแล้วกัน

– It’s too expensive
(มันแพงมาก – สงสัยผู้บริหารจะเป็นคนพูด)

– I’m not sure my boss would like it
(ฉันไม่มั่นใจว่าหัวหน้าของฉันจะชอบมัน – ตัดสินใจแทนผู้บริหารซะงั้น)

– We didn’t budget for it.
(พวกเราไม่มีงบประมาณสำหรับมัน – ไม่มีทุกปีเลยหรอครับ)

– Maybe Maybe not.
(อาจจะ หรือ อาจจะไม่ – ยังไม่ได้คิดอะไรเลย ก็ไม่ซะแล้ว)

– It won’t work in this department.
(มันไม่ใช่งานในแผนกเรา – แล้วตกลงเป็นงานของแผนกไหนหล่ะ)

– We’re waiting for guidance on that.
(พวกเรากำลังคอยคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ – แล้วตกลงอีกนานมั้ยหล่ะครับ)

– It can’t be done.
(มันไม่สามารถทำได้หรอก – แล้วคุณรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ ลองแล้วหรอ)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากแผนภาพนี้เท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่าเหตุผลบางอย่างในแผนภาพ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ยังฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่นะ

แต่ที่เอามาให้เพื่อนๆ ดูนี่ ไม่ได้หมายความว่าจะตำหนิหรือว่าอะไรใครหรอกนะครับ
เรื่องนี้อาจจะเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดอย่างไรกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องสมุดบ้าง

เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้เจอประเด็นนึงในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook “ข้อดีและข้อเสียของ E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง ?” ซึ่งประเด็นนี้ผมจะเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่ไม่มีเวลา วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องนี้ออกเป็นสองประเด็นแล้วกัน

ประเด็นที่ผมจะนำเสนอ มาจากบทความ 2 เรื่อง ดังนี้
1. 5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_paper_books_are_better_than_ebooks.php)
2. 5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ (http://www.readwriteweb.com/archives/5_ways_that_ebooks_are_better_than_paper_books.php)

เรามาดูกันที่ละเรื่องเลยดีกว่านะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่าหนังสือดีกว่า ebooks

1. Feel หรือ ความรู้สึก – เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากอยู่แล้วว่าหนังสือแบบกระดาษยังคงให้ความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านมากกว่า การได้จับกระดาษ พลิกกระดาษไปทีละหน้าเป็นเรื่องที่ ebooks ยังหาความรู้สึกมาแทนไม่ได้

2. Packaging หรือ รูปลักษณะของตัวเล่มหนังสือ – นอกจากในเรื่องของตัวเล่มแล้วยังรวมถึงสิ่งที่มากับหนังสือ เช่น ภาพประกอบหนังสือด้วย การที่รูปบางรูปไปอยู่ใน ebooks มันทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเพราะหน้าจอของ ebooks มันเล็กกว่าหนังสือบางเล่ม แม้ว่า ebooks จะมีฟังค์ชั่นในการขยายรูปภาพ แต่ก็ไม่ชัดเจนเท่ากับการดูภาพฉบับจริง นอกจากนี้ปกหนังสือก็เป็นจุดดึงดูดให้คนสนใจหนังสือมากกว่าด้วย หากปกหนังสือในอีบุ๊คหลายๆ รุ่นยังไม่มีภาพที่เป็นสีเลย ทำให้จุดนี้หนังสือแบบเดิมก็ยังคงดีกว่า ebooks

3. Sharing หรือการแบ่งปัน – ในแง่นี้หมายถึงการให้เพื่อนยืมไปอ่าน การนำหนังสือไปบริจาคต่อให้คนอื่น ถ้าเป็น ebooks มันจะมีการติดสิทธิ์จำพวก DRM ซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกหรือบางเล่มไม่สามารถนำไปให้คนอื่นอ่านต่อได้ ลิขสิทธิ์ของ ebooks จะมีแค่เจ้าของเพียงคนเดียว แต่หนังสือหากเราอ่านจบแล้วยังส่งต่อให้ใครก็ได้ยืมอ่านต่อ

4. Keeping หรือ การเก็บ – จากเรื่องของ DRM ในข้อเมื่อกี้แล้วสิ่งที่น่าคิดอีก คือ ในอนาคต ebooks อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมากกว่านี้ สมมุติว่าเราซื้อ ebooks ในปีนี้ เวลาผ่านไปอีก 10 ปีเราอยากจะอ่านเล่มนี้อีก เราอาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ เปลี่ยนโปรแกรมอ่านใหม่ ซึ่งมันก็ไม่เหมาะเลย (ยกตัวอย่างไฟล์โปรแกรมที่เราเคยเล่นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลองเอาโปรแกรมนั้นมาลองเล่นดูสิครับ) แต่มุมมองกลับกันถ้าเป็นหนังสือ อีกสิบปีเราอยากอ่านก็หยิบหนังสือเล่มเดิมออกมาไม่ต้องเปลี่ยนปกใหม่เรก็อ่านได้ครับ 5555

5. Second hand book หรือ หนังสือมือสอง -? เรื่องนี้ก็ไม่พ้น DRM เช่นกัน หากเราอ่านหนังสือเล่มเดิมๆ จนเบื่อแล้ว ถ้าเป็นหนังสือเราก็เอาไปขายต่อเป็นหนังสือมือสองได้ แต่ ebooks ไม่สามารถขายได้เนื่องจากมันจะผูกกับสิทธิ์เจ้าของเพียงคนเดียว

เป็นไงบ้างครับ แบบนี้ยืนยันได้แล้วหรือยังว่าหนังสือย่อมดีกว่า ebooks
แต่อย่าเพิ่งตัดสินใจจนกว่าเพื่อนๆ จะอ่านบทความที่สองนี้นะครับ

5 ประเด็นที่บอกว่า ebooks ดีกว่าหนังสือ

1. Social Highlighting หรือ ช่วยกันเน้นข้อความที่น่าสนใจ – ฟังค์ชั่นนี้เป็นจุดเด่นของการอ่านหนังสือบน ebooks ความสามารถในการแบ่งปันหรือการอ่านหนังสือร่วมกัน (แต่ละคนต้องซื้อหนังสือหรือดาวน์โหลดเล่มเดียวกันมาเท่านั้นนะ) เมื่อเจอข้อความเด็ดๆ หรือน่าอ่านเราก็จะเน้นข้อความนั้นเพื่อให้เพื่อนๆ ที่อ่านเล่มเดียวกันได้เห็นทำให้การอ่านสนุกมากยิ่งขึ้น ลองมองภาพนะว่าหากเราไปยืมหนังสือห้องสมุดมาอ่านแล้วเราทำ highlight ลงไป คงโดนด่าแน่นอน

2. Notes หรือ จดบันทึก – ฟังค์ชั่นนี้จะคล้ายๆ กับเมื่อกี้ แต่เน้นการเติมข้อมูลลงไปด้วย บางคนอ่านแล้วก็สรุปใจความสำคัญลงไปใน ebooks เผื่อในอนาคตกลับมาอ่านใหม่จะได้จำได้ นอกจากนี้ยังใช้บันทึกเพื่อเตือนความจำในหนังสือได้

3. Look up of word หรือ ค้นหาคำในหนังสือ – หากหยิบหนังสือแบบเดิมมาอ่านการที่เราจะต้องหาคำที่เราอยากอ่านในหนังสือทำได้โดยการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่มแล้วก็จดมันออกมา แต่ใน ebooks มีฟังค์ชั่นในการค้นหาคำซึ่งมันสะดวกมากกว่าการที่เราจะต้องอ่านมันทั้งเล่ม

4. Social network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ – เมื่อเราเจอประโยคเด็ดๆ ในหนังสือบางทีเราก็อยากจะแชร์สิ่งนั้นไปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเหมือนกัน ตอนนี้ ebooks device หลายรุ่นก็ทำฟีเจอร์เพื่อให้เครื่อง ebooks ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วส่งข้อความผ่าน twitter หรือ facebook ได้แล้ว เช่น? Kindle 2.5

5. Search หรือ การค้นหา – ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของการอ่าน ebooks คือเราสามารถนำข้อความใน ebooks ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน search engine ได้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่มากกว่าการอ่านหนังสือได้ด้วย

โดยรวมๆ แล้วจุดเด่นของ ebooks จะเน้นไปในแนวทางของสังคมออนไลน์มากขึ้น การอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน การพบปะกับคนที่ชอบหนังสือในแนวเดียวกัน รวมถึงการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่การอ่านหนังสือด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นจุดเด่นของหนังสือและ ebooks ใครชอบอะไรก็เลือกแบบนั้นแล้วกัน
ยังไงซะ การอ่านก็มีประโยชน์อยู่แล้ว รักการอ่านมากๆ ทำให้มีความรู้และเกิดไอเดียมากๆ ครับ

Flowchart คำแนะนำเบื้องต้นในการเริ่มใช้ Ebooks

วันนี้เจอ Flowchart นึงน่าสนใจมาก เป็น Flowchart ที่แนะนำเบื้องต้นสำหรับคนอยากใช้ Ebooks
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Ebooks มีอะไรบ้างและต้องคิดในเรื่องใดบ้าง ลองดูได้จาก Flowchart นี้

จากรูป Flowchart ผมขอสรุปคำแนะนำในการเริ่มต้นกับ Ebooks ดังนี้

1. เลือกอุปกรณ์ที่คุณจะใช้สำหรับอ่าน Ebooks ซึ่งมีให้เลือก ดังนี้
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX
– เครื่อง? Ipad
– เครื่อง? Nook
– โทรศัพท์ Iphone
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC
– เครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือ โทรศัพท์แบบอื่นๆ (เช่น Android phone)


2. เลือกโปรแกรมที่ใช้สำหรับการอ่าน Ebooks (ต้องเลือกตามอุปกรณ์ที่คุณจะใช้ในข้อที่ 1) เช่น

-? เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX ต้องใช้โปรแกรม Kindle เท่านั้น
– เครื่อง Ipad สามารถใช้โปรแกรมหลายตัวได้ เช่น iBooks, Calibre, Kindle app, Kobo app, B&N ereader, Goodreader ฯลฯ
– เครื่อง Nook ต้องใช้โปรแกรม B&N eReader เท่านั้น
– โทรศัพท์ Iphone สามารถใช้โปรแกรมได้หลายตัวเช่นเดียวกับ Ipad บางโปรแกรมใช้ตัวเดียวกันได้ บางโปรแกรมก็ใช้ได้แค่บน Iphone เช่น BookShelf, Stanza, Borders, Libris
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Adobe Digital Editions, Kobobooks, Mobipocket Reader, Stanza, Kindle for PC, Borders
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC ก็เช่นเดียวกัน มีโปรแกรมให้เลือกใช้เพียบ เช่น eReader, Calibre, Stanza Desktop, Adobe Digital Editions
– ส่วนเครื่องอ่านยี่ห้ออื่นๆ หรือโทรศัพท์อื่นๆ สามารถหาโปรแกรมดูได้ตามรุ่น


3. ไฟล์ของ Ebooks ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ (อันนี้ก็ต้องเลือกตามอุปกรณ์และโปรแกรมด้วย) เช่น

-? ไฟล์ที่ใช้กับ Kindle และ Kindle App คือ AZW
– ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องอ่าน Ebook reader ต่างๆ คือ ePub หรือ ePub+DRM(มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้)
– ไฟล์ที่เป็นสากลของโปรแกรม Ebooks คือ PDF
– นอกนั้นจะเป็นไฟล์ที่อุปกรณ์จะเป็นตัวกำหนด เช่น PalmDOC, Mobipocket ฯลฯ ต้องเลือกให้ถูกตามเครื่องและโปรแกรมเอง


4. หาซื้อ Ebooks ได้ที่ไหน ไปดูตามอุปกรณ์กันเลยนะครับ เช่น

– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> Amazon.com
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/ebooks/index.asp
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

5. หากต้องการความช่วยเหลือในการใช้ Ebooks จะหาคำตอบได้จากไหน
– เครื่อง Kindle 2.3 หรือ Kindle DX –> http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html?nodeId=200127470
– เครื่อง? Ipad –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่อง? Nook –> http://www.barnesandnoble.com/nook/support/?cds2Pid=30195
– โทรศัพท์ Iphone –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย
– เครื่องคอมพิวเตอร์ MAC –> เข้าไปดูตาม App ที่ใช้ได้เลย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของ Flowchart ที่ผมนำมาลงให้เพื่อนๆ ดู
โลกของ Ebooks ยังไม่สิ้นสุดแค่ใน Flowchart ที่นำมาลงนะครับ
ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกมากมาย ซึ่งต้องศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

เอาเป็นว่าสำหรับการเริ่มต้นเรื่อง Ebooks ผมว่า Flowchart นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน
เพื่อนๆ หล่ะครับคิดยังไงกับการใช้ Ebooks และพร้อมที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้เรื่อง Ebooks กันหรือยัง

ที่มาของภาพนี้มาจาก http://bookbee.net/bee-ginners-guide-2/

(ผมเข้ามาอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมแล้วนะครับ)

ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian

เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.

ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion

จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม

ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)

เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…

เมื่อโลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา (Iconscrabble)

วันนี้เจอของเล่นแปลกๆ แต่น่าสนใจก็เลยขอนำมาแนะนำสักนิดนึง
เว็บไซต์นี้จะช่วยสร้างไอคอนโดยนำโลโก้จากเว็บต่างๆ มาเรียงเป็นชื่อคุณ

เว็บไซต์นี้ ชื่อว่า “Iconscrabble” – http://iconscrabble.com
แนวคิดของเว็บไซต์นี้คือ พิมพ์ ค้นหา แชร์ (Type. Discover. Share)
ง่ายๆ ครับ แค่กรอกชื่อที่ต้องการลงในช่อง (ไม่เกิน 18 ตัวอักษร) แล้วกด scrabble

คุณก็จะได้โลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา ตัวอย่างเช่น
– Maykin

– Projectlib

– Libraryhub

และตัวสุดท้ายนี้แด่ Social Media


20 ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรมี…

เรื่องที่ผมนำมาเขียนในวันนี้ เป็นเรื่องที่ผมนำมาจาก เรื่อง “20 Technology Skills Every Librarian Should Have
ที่เขียนโดยบล็อก theshiftedlibrarian และเรื่องนี้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2005
ผมเห็นว่าบรรณารักษ์ในเมืองไทยบางหนึ่งยังขาดทักษะด้านไอทีหลายอย่าง ดังนั้นผมจึงขอนำมาเรียบเรียงและแปลให้เพื่อนๆ อ่านกัน

it-librarian

พอพูดถึงเรื่องไอที บรรณารักษ์หลายๆ คนมักจะมองไปถึงเรื่องการเขียนโปรแกรมหรือการใช้โปรแกรมขั้นสูงต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากๆ และความเข้าใจผิดนี้ทำให้บรรณารักษ์หลายๆ คนกลัวเทคโนโลยีกันไปเลย

แล้วตกลงทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้มีเรื่องอะไรบ้างหล่ะ
ผู้เขียนก็ไปเสาะแสวงหาและเจอบทความนึงเรื่อง “20 Technology Skills Every Educator Should Have”
และเมื่ออ่านแล้วบอกได้คำเดียวว่าตรงมากๆ และบรรณารักษ์นี่แหละก็ควรมีทักษะไอทีแบบเดียวกันนี้

โดยสรุปทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 20 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Word Processing เช่น Word หรือ? writer
2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Spreadsheets เช่น Excel หรือ Calc
3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Database เช่น Access หรือ Base หรือ SQL ….
4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Presentation เช่น Powerpoint หรือ Impress
5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์
6. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์
7. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ E-mail
8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องดิจิทัล
9. ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟล์และการจัดเก็บไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
11. ความรู้เกี่ยวกับการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
12. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
13. ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์
14. ความรู้เกี่ยวกับการประชุมทางออนไลน์ หรือประชุมทางไกลดดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
15. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสค์
16. ความรู้เกี่ยวกับการสแกน (Scanner)
17. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
18. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ขั้นสูง เช่น ระบบการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ การสืบค้น
19. ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
20. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ป้องกันไวรัส โทรจัน…

นอกจาก 20 ข้อนี้แล้ว ผู้เขียนยังขอเพิ่มในเรื่องทักษะ การใช้งาน Blog, IM, RSS, Wiki, …… อื่นๆ อีก
ซึ่งจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ เพื่อนๆ ว่าเพื่อนๆ มีทักษะด้านไอทีครบถ้วนหรือไม่

บางอย่างที่ยังไม่รู้ก็ลองหาที่ศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ
หากสงสัยในทักษะอย่างไหนบอกผมนะครับ จะได้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้รับทราบครับ
สำหรับวันนี้บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างเราต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลานะครับ…จะได้ไม่เป็นบรรณารักษ์ตกเทรนด์