บรรณารักษ์เล่าเรื่องกรุงเทพเมืองหนังสือโลก มหานครแห่งการอ่าน

ข่าว “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ออกมาค่อนข้างมากก็จริง แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คนไม่ทราบว่าปีนี้เป็นปีที่ “กรุงเทพฯ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหนังสือโลก” “มหานครแห่งการอ่าน” จึงเป็นวาระที่ผมต้องนำมาเขียนถึงในวันนี้

เพื่อนๆ หลายคนคงได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติกันมาแล้ว ผมเองก็ได้มีโอกาสไปเดินดูอะไรต่ออะไรในงานสัปดาห์หนังสือเช่นกัน บูทหนึ่งที่ผมตั้งใจไปดูก็คือ บูทของ “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” นั่นเอง

Bangkok world book capital1

ในบูท “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” มีอะไรบ้าง
แน่นอนครับว่าต้องมีการพูดถึงที่มาของการได้เป็น “เมืองหนังสือโลก” หรือ “World Book Capital 2013” นอกจากนี้ยังมีการยกโครงการสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านใน กทม มากมาย

Bangkok world book capital2 Bangkok world book capital3

ประเด็นที่ผมสนใจ คือ ทำไม “กรุงเทพฯ ถึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหนังสือโลก”
(ในบอร์ดนิทรรศการกล่าวว่า) “กรุงเทพมหานคร มีความมุ่งมั่นที่จะนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการหนังสือทุกส่วน รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมกันพัฒนาการอ่าน โดยได้นำเสนอแผนโครงการที่มีความหลากหลาย มุ่งเน้นชุมชน และแสดงออกถึงการมีพันธะสัญญาในระดับสูง ที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการอ่านและหนังสืออย่างจริงจัง”

Bangkok world book capital4

แนวคิด Bangkok Read for Life
– อ่านเพื่อรัก
– อ่านเพื่อรู้
– รักและรู้

ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน และเตรียมการสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืน 5 ยุทธศาสตร์
1. การสื่อสารสาธารณะเพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางสังคม
2. การกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนต่อเนื่อง
3. การสร้างความมีส่วนร่วมของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
4. การพัฒนาและขยายพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน
5. การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย

จากยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ที่คิดออกมาทำให้เกิดโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเป็นเมืองหนังสือโลก โดยในบูทก็ยก 9 กิจกรรมที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกมา เอาเป็นว่าใน 9 โครงการนั้นมีอะไรบ้าง ผมขอนำไปเล่าวันพรุ่งนี้แล้วกันครับ

Bangkok world book capital5

ในบูทนี้ก็มีของแจกมากมาย อาทิเช่น ที่คั่นหนังสือ สมุดโน้ต “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก”

และที่สำคัญกิจกรรมก็น่าสนใจด้วย เช่น
การแจก Passport ซึ่งภายใน Passport ก็มีคำถามเกี่ยวกับ “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” และถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านของเรา Passport นี้สามารถนำไปใช้สำหรับกิจกรรม การเฉลิมฉลอง “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ในวันที่ 21-23 เมษายน 2556 ณ ลาน Skywalk หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สำหรับวันนี้ผมขอตัวก่อนแล้วกันครับ
และต้องขอขอบคุณงานสัปดาห์หนังสือที่ทำให้ผมเจอข้อมูลดีๆ แบบนี้

นายห้องสมุดชวนอ่าน : คู่มือกิจกรรมพี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง

วันนี้นายห้องสมุดมานั่งอยู่ในงานประชุมวิชาการประจำปีของ TK park หรือที่เรียกว่า Thailand Conference on Reading 2013 บังเอิญว่าบูธข้างๆ เป็นบูธของ กทม. เมืองหนังสือโลก แอบเห็นคู่มือเขาน่าสนใจ เลยขอแนะนำเป็นพิเศษ หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”

world book capital 20131

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”
จัดพิมพ์โดย : สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
ปีพิมพ์ : 2555
จำนวนหน้า : 160 หน้า

หนังสือคู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมทกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” ซึ่งเปิดตัวเมือง 2 ตัวที่แล้วเอง

“พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุนการเป็นเมืองหนังสือโลกของกรุงเทพมหานคร โดยการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นพี่อาสาสมัคร จำนวน 2000 คน ทั่วพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมการอบรมความรู้ ทักษะ ด้านเทคนิคการอ่าน การสร้างกระบวนการกลุ่ม แล้วนำไปถ่ายทอดสู่รุ่นน้องอาสาสมัครจำนวน 10,000 คน ดดยการชักชวนน้องๆ ให้สนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างภาวะผู้นำกับพี่อาสาสมัครในการนำน้องๆ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กรุงเทพมหานครจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
– กระบวนการสร้างเครือข่ายส่งเาริมการอ่าน
– หนังสือให้อะไรแก่ชีวิต
– การอ่านร้อยกรอง
– บทกวีว่าด้วยหนังสือ
– เรื่องสั้นชุด “โลกนี้น่ารัก”
– นิทานสัตว์นิสัยดี
– นิทานจากครู

เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจมาก แต่เสียดายที่ผมไม่สามารถนำตัวเล่มกลับมาได้ แต่ทางทีมงานสัญญาว่าจะส่งไฟล์ pdf มาให้ผมอีกทีทางเมล์ เอาเป็นว่าถ้าได้ไฟล์ pdf มาแล้วผมจะนำขึ้นมาให้ดาวน์โหลดอีกทีนึงแล้วกันครับ

ปล. นอกจาก คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” แล้วยังมี สมุดบันทึกข้อมูลการอ่าน ด้วย

world book capital 20133