เมื่อผม (Projectlib & Libraryhub) ถูกสัมภาษณ์ลงเว็บไซต์อื่นๆ…

วันนี้ผมขอรวบรวม link บทสัมภาษณ์ของผมจากหลายๆ เว็บไซต์มาไว้ที่นี่เพื่อให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
ซึ่งบทสัมภาษณ์ที่ผมเคยให้สัมภาษณ์ไป ไม่ได้มีแต่เรื่องส่วนตัวเท่านั้นนะครับ
แต่ยังมีเรื่องประสบการณ์ในการฝึกงาน แรงบันดาลใจ และอีกหลายๆ เรื่องที่อยากให้อ่านจริงๆ

libraryhub-interview

เราไปอ่านบทสัมภาษณ์กันเลยดีกว่านะครับ

————————————————————————————————————

เริ่มจากการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของผมผ่านเว็บไซต์ Tag in thai

taginthai

การสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ผมได้กล่าวถึงเรื่องส่วนตัว เช่น เรียนจบที่ไหนมา ปัจจุบันทำงานที่ไหน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวงการห้องสมุดในเมืองไทย
และวัตถุประสงค์ในการเขียนบล็อก พร้อมแนะนำบล็อกในหน้าต่างๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://tag.in.th/interview?show=projectlib

————————————————————————————————————

ต่อมาการสัมภาษณ์ครั้งที่สอง ได้ลงทั้งในหนังสือเรียนรอบโลก และ เว็บไซต์เรียนรอบโลก

learn-around-the-world

ซึ่งประเด็นหลักของการสัมภาษณ์ในครั้งนั้นคือ ?ฝึกงานบรรณารักษ์ ต้องใฝ่รู้คู่ให้บริการ?
โดยผมได้กล่าวถึงเรื่องการฝึกงานของเด็กเอกบรรณรักษ์โดยเน้นงานบริการเป็นหลัก
และการฝึกงานในลักษณะต่างๆ ของเด็กเอกบรรณารักษ์

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://eaw.elearneasy.com/Print_News.php?news_id=269

————————————————————————————————————

ครั้งที่สามต่อเนื่องจากครั้งที่สอง แต่เปลี่ยนไปลงในคอลัมน์นานาสาระ เว็บไซต์ eJobEasy

ejobeasy

ซึ่งประเด็นหลักของการสัมภาษณ์ในครั้งนั้นจะเหมือนในครั้งที่สองนั่นแหละครับ
เพราะว่าใช้คำถามในการสัมภาษณ์เหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนสื่อในการนำเสนอ
ให้อยู่ในเว็บไซต์หางาน และแนะนำการทำงานเป็นหลัก
ซึ่งข้อมูลที่ผมให้ คือ ข้อมูลจากการฝึกงานที่ ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://www.ejobeasy.com/kmdetail.php?n=80820180723

————————————————————————————————————

ครั้งที่สี่ เป็นการให้สัมภาษณ์กับ LibrarianMagazine เล่มที่ 7

librarianmagazine

การสัมภาษณ์ครั้งนั้นเป็นกล่าวกล่าวถึงเรื่องส่วนตัว และเรื่องของบล็อกเป็นหลัก
เช่น อนาคตของบล็อกนี้ และโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นใน projectlib.in.th
นอกนั้นก็จะมีการแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่บรรณารักษ์หลายคนมองข้าม เช่น
ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ และการทำบล็อกของห้องสมุด ฯลฯ

เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อที่ http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html

————————————————————————————————————

เอาเป็นว่าก็อ่านกันได้ตามสะดวกเลยนะครับ…

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ
แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ…

keyword-website

วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ
ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google

ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้

– คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น
ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น

– นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ

– ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ

ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ

ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 2 คำค้นในช่อง มีจำนวน 31.9 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 3 คำค้นในช่อง มีจำนวน 27 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 4 คำค้นในช่อง มีจำนวน 14.8 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 5 คำค้นในช่อง มีจำนวน 6.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 6 คำค้นในช่อง มีจำนวน 2.7 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 7 คำค้นในช่อง มีจำนวน 1.1 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 8 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 9 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 10 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับผลสำรวจ
หากเรามาลองวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการใช้คำจำนวน 2-3 คำครับ
เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ได้ดีและตรงกับความต้องการมากขึ้น

หากเราใช้คำเดียวมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและมากเกินไปจนทำให้เราต้องมานั่งกรองคำอีก
ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือการตรวจสอบว่าใช่เรื่องที่ต้องการจริงหรือปล่าวครับ
และในทางกลับกันหากเราใช้คำค้นเยอะเกินไปมันก็อาจจะทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้

ทางที่ดีแล้วเราควรจะดูวัตถุประสงค์ของการค้นข้อมูลของเราด้วย เช่น หากเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้วใช้คำน้อยๆ มันก็เจอครับ
แต่หากเป็นคำที่มีความหมายกว้างเราก็ควรใส่คำเงื่อนไขเพื่อกรองคำให้ตรงกับความต้องการ

ตัวอย่างเช่น

เราต้องการค้นคำว่า LPG คำๆ นี้มีความหมายแคบอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะค้นโดยใส่คำแค่ไม่กี่คำก็พอแล้ว
แต่หากเราจะค้นคำว่า travel คำนี้มันกว้างไปดังนั้นเราควรเพิ่มเงื่อนไขอีกเช่น
travel in Thailand บางทีมันก็อาจจะกว้างอีกเราก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ครับเช่น travel in north of thailand
อิอิ นั่นแหละครับคือการกรองให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุดครับ

ปล. อ๋อลืมบอกไปอย่างนึงว่าคำที่มาจากการสำรวจ คือ คำในภาษาอังกฤษนะครับ
ไม่ใช่คำในภาษาไทยเพราะไม่งั้นบางทีคำเดียวก็ยาวเป็นกิโลตามสไตล์คนไทย อิอิ

Happy Birthday กลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (hi5)

เนื่องในวันนี้เป็นวันเกิดของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (Librarian in Thailand) ใน Hi5.com
ผมในฐานะของเจ้าของกลุ่มก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ทุกคนพบแต่ความสุขและโชคดีในการทำงาน

librarian-in-thailand

หลังจากที่ผมเปิดกลุ่มนี้ใน hi5 (วันที่ 27 มกราคม 2551)
เพื่อนๆ หลายคนก็รู้จักผม (Libraryhub & Projectlib) จากกลุ่มๆ นี้
ทำให้บล็อกของผมมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ตลอดสองปีที่ผ่านมาในกลุ่ม Librarian in Thailand มีอะไรบ้าง
– สมาชิกจำนวน 654 คน
– กระทู้ที่ตั้งโดยกลุ่มบรรณารักษ์จำนวน 222 กระทู้

นับว่าป็นตัวเลขทางสถิติที่ดีมากๆ เลยครับ

ในกระทู้ของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย ผมได้ลองทำการสำรวจข้อมูลที่เพื่อนๆ เข้ามาถาม ก็พบว่า
– เข้ามาโพสข่าวรับสมัครงานบรรณารักษ์มากมาย
– เข้ามาประกาศหางานและติดตามการรับสมัครงาน
– เข้ามาหาเพื่อนๆ ที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกัน
– ถามตอบปัญหาสำหรับคนที่อยากเรียนต่อด้านนี้

เอาเป็นว่าไม่ว่าเพื่อนๆ จะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์ใด
ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

หลังจากนี้ผมจะพยายามเติมความเข้มข้นด้านเนื้อหาวิชาชีพลงในกลุ่ม hi5.com ด้วยนะครับ
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในตัวเอง

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ติดตามกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์เมืองไทยมาโดยตลอดครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ

หาหนังสืออ่านเล่นใน Google books search ดีกว่า

เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับ
เกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Search

textbook

ทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search หรอ….สาเหตุก็มาจาก :-
ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้น
แต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุด
แต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหน

และนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์

ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Google
เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศ
ผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมา
เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล
รวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริง

googlebooks

Google Book Search – http://books.google.com/
เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search)
ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลา

ยกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์
หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุด

แต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือ
ยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้น
คนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์

แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้น
Google คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ อีกไม่นานต้องรอดูกันไป

ปล. มีบทความนึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่อง Full-text Searching in Books
เป็นบทความที่พูดถึง Google Books Search และ Live Search Books

วันนี้ผมขอแนะนำเพียงเล็กน้อยไว้วันหลังผมจะมา demo
และสอนเทคนิคการสืบค้นอย่างสมบูรณืแล้วกันนะครับ

ความทรงจำดีๆ เรื่องเว็บไซต์ห้องสมุดชิ้นแรกของผม

วันนี้ผมลื้อไฟล์งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเจองานชิ้นนี้ (เว็บไซต์แรกที่ผมสร้างให้กับห้องสมุด) โดยบังเอิญ
วันนี้ผมจึงขอรำลึกถึงความหลังและเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ

ขอ censor ชื่อหน่วยงานและหน้าของสาวๆ นะครับ
ขอ censor ชื่อหน่วยงานและหน้าของสาวๆ นะครับ

ในขณะนั้นผมอยู่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ไอทีของห้องสมุดแห่งหนึ่ง (ลองอ่านจากประวัติผมดูนะครับ)
ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการห้องสมุดให้จัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุดขึ้นมา

จุดประสงค์ของเว็บไซต์ที่ผมสร้าง
– เพื่อแนะนำข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด เช่น ประวัติความเป็นมา เวลาทำการ นโยบายในการให้บริการ ฯลฯ
– เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ
– เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุด
– เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังสารสนเทศออนไลน์

ต้องขอบอกก่อนเลยนะครับ ช่วงนั้นผมยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับไอทีสักเท่าไหร่
เลยออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดอย่างง่ายๆ ขึ้นมา โดยเขียนด้วย HTML ธรรมดาๆ

แต่ด้วยความโชคดีของผมที่ก่อนหน้าที่จะมาทำงานที่นี่ ผมได้เป็นกราฟฟิคดีไซน์เนอร์มาก่อน
เลยชำนาญกับการออบแบบงานใน Photoshop
ดังนั้นผมจึงผสานระหว่างความรู้ด้านไอทีและการออกแบบจนได้เว็บไซต์ห้องสมุดออกมา

ในเว็บไซต์นี้ประกอบด้วย
1. ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม – เพื่อช่วยในการค้นหนังสือจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
โดยเว็บของผมก็จะเชื่อมไปยัง http://uc.thailis.or.th

2. การจัดการความรู้ห้องสมุด – เพื่อสร้างชุมชนการจัดการความรู้ ซึ่งตอนนี้เชื่อมโยงมาที่บล็อกนี้

3. กฤตภาคออนไลน์ – เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นข่าวเก่าๆและบทความดีๆ ได้
ซึ่งส่วนนี้ผมสร้างเองโดยแบ่งหมวดตามสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนที่นี่

4. สุดยอดหนังสือน่าอ่าน – เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจในแต่ละเดือน
โดยผมก็ทำจุดเชื่อมโยงไปที่เว็บของร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คในส่วนของอันดับหนังสือขายดี

5. ebook online – เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เมื่ออยู่ที่บ้าน
ไม่ต้องมาที่ห้องสมุด อันนี้ผมก็เชื่อมโยงไปยัง http://www.gutenberg.org/wiki/Main_Page

6. ติดต่อศูนย์วิทยบริการ – ในส่วนนี้จะบอกแผนที่ในการมาที่ห้องสมุด และที่อยู่ในการติดต่อ
รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ด้วย

7. แบบฟอร์มศูนย์วิทยบริการ – ในส่วนนี้เป็นบริการภายในให้บรรณารักษ์สามารถ Download เอกสารประกอบการทำงานได้

8. ศูนย์รวมความรู้นอกตำราเรียน – อันนี้สร้างเองแต่ก็ใช้ข้อมูลจากคนอื่นอยู่ดี
ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจในแต่ละเดือนแล้วนำสไลด์ความรู้ต่างๆ มาให้ผู้ใช้บริการเข้าไปดูได้
โดยผมก็จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารต้นฉบับของเจ้าของสไลด์

9. ค้นข้อมูลจาก google – ส่วนนี้มีไว้สำรองเมื่อผู้ใช้บริการไม่สามารถหาหนังสือในห้องสมุด
ก็สามารถค้นข้อมูลได้จาก google ได้

10. แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ – มีการรวบรวมรายชื่อฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย
ที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งฐานข้อมูลที่คัดสรรมานั้นนับว่ามีประโยชน์กับผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา
ข้อมูลเพื่อนำไปทำวิจัยได้

11. บริการข่าวสาร –
อันนี้ผมก็ใช้ rss feed ข่าวมาจาก สำนักข่าวต่างๆ โดยแบ่งข่าวเป็น 5 ส่วนคือ
ข่าวการศึกษา / ข่าวไอที / ข่าวสุขภาพ / ข่าวธุรกิจ / ข่าวยานยนต์

12. รวบรวมจุดเชื่อมโยงไปยังห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชน เพื่อใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม

13. แนะนำหนังสือใหม่ในแต่ละเดือน

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับความสามารถของเว็บไซต์นี้
แต่ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะรู้ว่าหลายๆ เมนู ผมไม่ต้องทำเองก็ได้นะครับ
แค่อาศัยการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ภายนอกก็เพียงพอแล้ว

ของบางอย่างเราสามารถนำมาใช้ได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างเอง
สิ่งสำคัญของการทำเว็บไซต์ห้องสมุด คือ ทำออกมาแล้วผู้ใช้ต้องสามารถใช้งานได้อย่างมีคุณค่ามากที่สุด

ผลงานชิ้นนี้ทำให้ห้องสมุดแห่งนี้มีเว็บไซต์ แต่หลังจากที่ผมลาออกที่นี่ก็เปลี่ยนเว็บไซต์ห้องสมุดใหม่
ซึ่งผมก็แอบน้อยใจนิดๆ เหมือนกัน เพราะถ้าเปลี่ยนแล้วมีอะไรที่ดีขึ้นผมก็คงยอมได้
แต่นี่เปลี่ยนเว็บไซต์จากที่มีความสามารถดังกล่าวกลายเป็นเว็บไซต์ที่มีแต่แนะนำข้อมูลห้องสมุดอย่างเดียว

เศร้าใจนะ แต่ทำอะไรไม่ได้นี่…

บรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบ

วันนี้ขอนำเสนอบทความเก่าขอเล่าใหม่อีกสักเรื่องนะครับ…
ชื่อบทความนี้ คือ Librarians Eat Questions for Breakfast ซึ่งบทความนี้ผมอ่านเจอใน LISNews
โดยเนื้อหาหลักๆ ของบทความนี้ คือ บทบาทของบรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบต่างๆ

answersite-librarian

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับถามตอบ เช่น
Yahoo! Answer – http://answers.yahoo.com/
Ask MetaFilter – http://ask.metafilter.com/
Wikipedia Reference Desk – http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Reference_desk/

มีผลสำรวจจากเว็บไซต์เหล่านี้ พบว่า ผู้ที่เข้ามาตอบคำถามจำนวนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์นั่นเอง
ซึ่งคำตอบเหล่านี้นับว่าเป็นคำตอบที่มีคุณภาพมากและช่วยผู้ใช้ได้มากเลยทีเดียว

จากวัฒนธรรมในการถามและตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้
ทำให้มีห้องสมุดจำนวนไม่น้อยนำความคิดดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในงานบริการห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library)
โดยบรรณารักษ์จะตั้งคำถามและตอบคำถามต่างๆ ผ่านทางระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) นั่นเอง

การประยุกต์ใช้งานเว็บไซต์ถามตอบ
เริ่มจากผู้ใช้บริการเข้ามาตั้งคำถามที่ระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) ซึ่งอาจจะนำมารวมกับระบบเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ได้
โดยหลักการตั้งคำถามของผู้ใช้บริการ ระบบจะต้องครอบคลุมเนื้อหาในชีวิตประจำวันและเรื่องสารสนเทศต่างๆ ด้วย
และเมื่อบรรณารักษ์มาทำงานในช่วงเช้าของแต่ละวัน บรรณารักษ์ก็จะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ

เมื่อบรรณารักษ์ปฏิบัติแบบนี้ทุกวัน บรรณารักษ์ก็จะได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นได้
อุปมาว่าอาหารเช้าของบรรณารักษ์เหล่านี้ก็คือความรู้ต่างๆ มากมายจากผู้ใช้บริการนั่นเอง

คำถามที่ผู้ใช้บริการมักจะถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
– คำถามด้านสารสนเทศ —> บรรณารักษ์สามารถหาคำตอบได้ในห้องสมุด
– คำถามอื่นๆ —> บรรณารักษ์ก็สามารถหาคำตอบหรือตั้งคำถามได้ใน Answer site ต่างๆ ได้

สำหรับความเห็นของผมนะครับ ผมว่ามันก็ดีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้บรรณารักษ์ด้วย
เนื่องจากปกติบริการตอบคำถามส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะเจอคำถามที่อยู่ในห้องสมุดเพียงเท่านั้น
แต่ถ้าเราเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถถามข้อมูลได้ทุกเรื่องบรรณารักษ์ก็จะได้เปิดความคิดใหม่ๆ ไปด้วย

เพื่อนๆ ว่ามั้ยหล่ะครับ

ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า

อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2010 แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอบทความเรื่อง
แนวโน้มของการใช้ social networking ในวงการห้องสมุดปี 2010” นะครับ

sns-library

บทความนี้ต้นฉบับมาจากเรื่อง “Top 10 Social Networking in Libraries Trends for 2010”

สาระสำคัญของบทความชิ้นนี้คือการชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการใช้ Social Networking ต่างๆ เพื่องานห้องสมุด
ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามกระแสของการใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อนๆ จะรู้ว่าแนวโน้มห้องสมุดมีการนำมาใช้มากขึ้น
ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้สรุปออกมาเป็นหัวข้อย่อยๆ 10 อย่างด้วยกันดังนี้

1. An increase in the use of mobile applications for library services.
โปรแกรมที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ของห้องสมุดในโทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น
เช่น ใน Iphone ของผมตอนนี้ก็มี โปรแกรมที่น่าสนใจ เช่น DCPL, bibliosearch เป็นต้น

2. Even more ebook readers and the popularity of the ones that already exist.
กระแสของการใช้ Ebook Reader ปีที่ผ่านมาถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็จะพบว่ามีจำนวนที่โตขึ้นมา
เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ให้บริการ download Ebook มากมาย ซึ่งบริการเช่นนี้จะเกิดในห้องสมุดอีกไม่นานครับ

3. The usage of more niche social networking sites for the public at large and this will spill over into libraries.
จำนวนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ social networking เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมันก็กำลังจะเข้ามาสู่วงการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องนึง คือ twitter หลายๆ ห้องสมุดในไทยตอนนี้ยังเริ่มใช้บริการกันแล้วเลยครับ

4. An increase in the amount and usage of Google Applications such as Google Wave and other similar applications.
การใช้งาน application บน google มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น google wave หรือโปรแกรมอื่นๆ
เพื่อนๆ คนไหนอยากได้ invite google wave บอกผมนะเดี๋ยวผมจะ invite ไปให้

5. The Google Books controversy will more or less be resolved and patrons will begin to use it more.
google book มีการใช้งานมากขึ้นเช่นกัน หลังจากที่มีอยู่ช่วงนึงเป็นขาลง แต่ตอนนี้จำนวนผู้ใช้กลับเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีกแล้ว
(นอกจากนี้ google book ยังได้รับความร่วมมือจากห้องสมุดอีกหลายๆ แห่งด้วย)

6. Library websites will become more socialized and customized
เว็บไซต์ของห้องสมุดจะมีความเป็น 2.0 มากขึ้น (ตอบสนองกับผู้ใช้มากขึ้น)
ลักษณะการให้บริการบนเว็บไซต์ของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป

7. College libraries will use more open source software and more social networking sites.
ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังตื่นตัวเรื่อง Open source รวมถึงการใช้ social network ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
เช่น Moodle, greenstone, Dspace ฯลฯ

8. More libraries will use podcasting and itunes U to communicate with patrons.
ห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการใช้ podcast และนำ itune เข้ามาติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
ตัวอย่าง เช่น การให้บริการ podcast ของ Library of Congress

9. More libraries will offer social networking classes to their patrons.
เมื่อห้องสมุดใช้ Social networking มากขึ้นแล้ว ห้องสมุดก็ต้องจัดคอร์สอบรมให้ผู้ใช้บริการด้วย
โดยปีหน้าห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการจัดคอร์สเกี่ยวกับเรื่อง Social Networking เพิ่มมากขึ้น
แล้วเราคงจะได้เห็นหลักสูตรแปลกๆ เพิ่มมากขึ้นนะครับ

10. Social networking in libraries will be viewed more as a must and as a way to save money than as a fun thing to play with or to use to market the library.
การนำ Social networking ที่ห้องสมุดนำมาใช้วัตถุประสงค์หลักๆ คือ การลดค่าใช้จ่ายมากกว่าเล่นเพื่อนสนุกสนาน
นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างกฎทางการตลาดใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุดด้วยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับกระแสแห่งเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ห้องสมุดของเพื่อนๆ พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวไปข้างหน้าเหมือนกับห้องสมุดหลายๆ แห่งทั่วโลก
เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำหลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ…ก้าวต่อไป