การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

Groovle – สร้างหน้า Search Engine ส่วนตัว

เพื่อนๆ อยากมีหน้า Search engine เป็นของตัวเองหรือปล่าวครับ
ถ้าอยากลองเข้ามาดูที่ เว็บไซต์ Groovle นะครับ

groovle

เว็บไซต์นี้มีฟีเจอร์หลักๆ คือ การค้นหาเว็บไซต์ ค้นหารูป ค้นหาข่าว ฯลฯ (ผลการค้นเหมือน google)
แต่ที่เด็ดกว่า google คือ เราสามารถตกแต่งเว็บไซต์นี้ให้สวยงามได้
โดยการปรับรูปแบบการนำเสนอใหม่ ใส่รูปภาพสวยๆ ได้ เปลี่ยน theme ได้

เอาเป็นว่าลองเล่นกันดูเลยดีกว่าครับ
โดยเข้าไปที่
http://www.groovle.com/create/

groovle1

จากนั้นก็อัพโหลดรูปที่ต้องการลงไปครับ เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็มีเว็บไซต์สวยๆ ได้แล้ว

ผมเองก็ขอลองบ้างดีกว่า เพื่อนลองเข้าไปดูได้ที่
http://www.groovle.com/custom/homepage/cb2e8f391e4bab46d66971a6c9293c28/

groovle2

เป็นยังไงกันบ้างครับ ง่ายมากเลยใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าใครที่ลองเล่นแล้ว เอา url มาโพสให้ผมเข้าไปดูหน่อยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำของเล่นแต่เพียงเท่านี้ครับ

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

สร้างภาพศิลปะจาก twitter แบบง่ายๆ

วันนี้ผมมีของเล่นใหม่มาให้เพื่อนๆ ได้เล่นกัน นั่นก็คือ Twitter Mosaic
หลักการก็ง่ายๆ ครับ คือ การนำรูปเพื่อนๆ ของคุณใน twitter มาเรียงต่อกันเป็นภาพ Mosaic

twittermosaic

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ แค่คุณพิมพ์ชื่อ twitter ของคุณในช่อง Username
เช่น ผมพิมพ์ชื่อของผมในช่อง ?ylibraryhub?

จากนั้นก็เลือกรูปเพื่อนๆ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
– Show Twitter followers
– Show Twitter friends

จากนั้นก็กดตกลงได้เลยครับ (ตัวอย่างที่ผมโชว์ด้านล่างเป็นแบบ follower นะครับ)

Get your twitter mosaic here.

เพื่อนๆ สามารถเอารูปที่โชว์แบบนี้ไปลงและผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้นะครับ เช่น

twittermosaicproduct

เพื่อนๆ ว่าโอเคมั้ยครับ ยังไงก็ลองเล่นและอัพเดทบล็อกของเพื่อนๆ มาให้ผมดูบ้างหล่ะ

วันนี้ก็ขอตัวไปหาของเล่นอื่นๆ ก่อนนะครับ

สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้อัพเดทในส่วนของเรื่อง OSS4Lib
วันนี้ขอแก้ตัวด้วยการอัพเดทเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง open open ในห้องสมุดหน่อยแล้วกัน

opensystem

วันนี้ผมเจอสไลด์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Open Systems ในห้องสมุด
ซึ่งเจ้าของสไลด์ชุดนี้ คือ Stephen Abram ซึ่งเป็นเจ้าของบล็อก Stephen?s Lighthouse.

บล็อกเกอร์ท่านนี้เป็น Vice President of Innovation ของ SirsiDynix
(SirsiDynix ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งระบบ)

ในสไลด์ชุดนี้ได้แนะนำเรื่อง Open Systems ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเรื่องของ Cloud Computing ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงแหล่งที่รวบรวม API ต่างๆ
แง่คิดในเรื่องของประสบการณ์และมุมมองแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
เพื่อให้ระบบต่างๆ ในห้องสมุดผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มที่

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านดูนะครับ สไลด์ชุดนี้มีทั้งหมด 104 หน้า
ซึ่งสาระความรู้มีเพียบแน่นอน ถ้าเพื่อนๆ สนใจสไลด์ชุดนี้ก็สามารถ download ได้ที่
http://www.sirsidynix.com/Resources/Pdfs/Company/Abram/20091023_OnlineUK.pdf

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ไทยในปี 1998-1999

ย้อนอดีตดูเว็บไซต์ประเทศไทยกันบ้างดีกว่า จำกันได้มั้ยครับว่า
เว็บไซต์เหล่านี้สมัยก่อนหน้าตาเป็นแบบนี้

เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนเดิม (http://web.archive.org/)

เริ่มจากเว็บไซต์แรก นั่นคือ pantip.com เว็บไซต์ฟอรั่มที่มีความยาวนานที่สุดของไทย

pantip

เว็บไซต์ต่อมา sanook.com ปัจจุบันเป็นเว็บอันดับหนึ่งของประเทศแล้วสมัยก่อนหล่ะ ไปดูกัน

sanook

เว็บไซต์ที่ผมต้องพูดถึงอีกเว็บหนึ่งคือ Thaimail.com บริการฟรีอีเมล์ยุคแรกๆ ที่ผมก็เคยใช้ อิอิ

thaimail

เว็บต่อมานั่นก็คือ hunsa.com ปัจจุบันเว็บนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน แต่ในสมัยก่อนผมก็ชอบเว็บนี้เหมือนกันนะ

hunsa

เว็บไซต์สุดท้ายของวันนี้ คือ jorjae.com เว็บเพื่อสังคมวัยรุ่น และ picpost ยุคแรก

jorjae

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเว็บไซต์ที่ผมนำมาให้ดู
จริงๆ ในช่วงปี 1998-1999 ยังมีอีกหลายเว็บที่น่าสนใจนะครับ
แต่รายชื่อเว็บไซต์ที่ติดในหัวของผมอาจจะเลือนๆ หายไปบ้าง

ยังไงถ้าเพื่อนๆ พอนึกออกก็ช่วยๆ กันโพสไว้ด้านล่างนี้นะครับ
ผมแค่อยากรู้ว่ายังเหลือเว็บไหนอีกบ้าง และเว็บไหนที่อยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และเว็บไซต์เหล่านั้นพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ Search Engine ในปี 1995 ? 1996

หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ยุคแห่งความรุ่งเรืองของบรรดา Search engine ทั้งหลาย
ในช่วงนั้นถ้าจำไม่ผิด google ยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ แล้วเพื่อนๆ จำได้มั้ยครับ
ว่าสมัยนั้นเพื่อนๆ ใช้เว็บอะไรในการค้นหาข้อมูลบ้าง
วันนี้ผมจะมารำลึกความหลังครั้งนั้นกัน

เรื่องที่ผมหยิบมาให้อ่านนี้ ชื่อเรื่องว่า The Web back in 1996-1997
เป็นการประมวลภาพเว็บไซต์ดังๆ ในอดีตเพื่อรำลึกความหลังของเว็บเหล่านั้น

เว็บไซต์เบอร์หนึ่งในใจผม yahoo.com กำเนิดในเดือนมกราคม 1995

yahoo

เว็บไซต์ต่อมา Webcrawler.com เว็บไซต์ที่เป็น search engine ตัวแรกที่ใช้ full text search

webcrawler

เว็บไซต์ต่อมา altavista.com เว็บไซต์ search engine ที่มียอดนิยมในอดีต

altavista

เว็บไซต์ต่อมา Lycos.com เว็บไซต์ search engine ที่ผันตัวเองไปสู่ Web portal

lycos

ยังมีภาพอีกหลายเว็บไซต์นะครับ แต่ที่ผมเลือกนำมาให้ดู
นี่คือสุดยอดของ search engine ในอดีต
ที่ปัจจุบันบางเว็บไซต์ก็ยังอยู่ แต่บางเว็บไซต์ล้มสะลายไปแล้ว

ภาพอื่นๆ เพื่อนๆ ดูได้จาก http://royal.pingdom.com/2008/09/16/the-web-in-1996-1997/
นอกจากนี้ เพื่อนๆ สามารถดูหน้าตาเว็บไซต์ในอดีตได้จาก http://web.archive.org/ นะครับ

แนะนำเว็บไซต์ตามกระแสที่คุณควรรู้จัก

*** คำแนะนำเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบตามข่าวสารต่างประเทศนะครับ ***
ถ้าคุณคือคนที่ผมกล่าวถึงอยู่ก็กรุณาเข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้

ที่มาของรูป http://www.nytimes.com
ที่มาของรูป http://www.nytimes.com

ลักษณะของเว็บไซต์ที่ช่วยให้เราตามกระแสของโลกได้ มีดังนี้
– เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารจากหลายๆ แขนงวิชา
– เว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์ (Social Media)
– เว็บไซต์ที่มีการอัพเดทแบบ Real time
– เว็บที่มีการตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมาก

เอาเป็นว่าเมื่อรู้คุณสมบัติของเว็บเหล่านี้แล้ว
เราลองมาดูตัวอย่างของเว็บไซต์เหล่านี้กันดีกว่า

21 เว็บไซต์ที่จะทำให้คุณตามกระแสโลกทัน (21 Sites To Find Out What’s Hot Online) มีดังนี้

กลุ่มของ meme trackers (การติดตามกระแส หรือคำสำคัญ)

1 Google Blogsearch

2 Megite

3 Techmeme

กลุ่มของ blog search engines

4 Technorati Popular

5 BlogPulse key phrases

กลุ่มของ Search Engine

6 Yahoo Buzz

7 Google hottest trends

8 MSN A-list

9 Aol.com hot searches

10 Top Ask.com

กลุ่มของ social media sites

11 Digg

12 Delicious

13 StumbleUpon

14 PopURLs

15 Flickr

16 Deletionpedia

กลุ่มของ Twitter tools

17 Tweet Meme

18 Twit Scoop

19 TwittUrly

กลุ่มของ ecommerce sites

20 Amazon

21 EBay pulse

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนๆ รู้จักเว็บเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนครับ
สำหรับผมเองก็ยอมรับแหละครับว่ายังรู้จักไม่ครบ
เอาเป็นว่าผมก็จะพยายามทำความรู้จักกับเว็บไซต์เหล่านี้ให้มากๆ แล้วกันนะครับ

ที่มาของเรื่องนี้ 21 Sites To Find Out What’s Hot Online

5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0

วันนี้ผมมีเวลาเล่าเรื่องน้อยกว่าทุกวันนะครับ เนื่องจากงานเยอะมากๆ
แต่บังเอิญไปเจอบทความดีๆ มา เลยต้องรีบแนะนำก่อน บทความนี้เกี่ยวกับเรื่อง ห้องสมุด 2.0

gotolibrary20

หลังๆ มาผมได้เข้ากลุ่ม library2.0 network ในเมืองนอกบ่อยขึ้น
เว็บนี้ทุกคนได้เข้ามาแชร์กันในเรื่องของการสร้างแนวคิดเรื่องการจัดการห้องสมุด 2.0 เยอะมากๆ

บทความนึงที่ในชุมชนกล่าวถึง คือ 5 คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของคุณให้กลายเป็นห้องสมุด 2.0
5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0 (or Some Easy Steps to Get Started?Really)
ซึ่งบทความนี้เขียนโดย อาจารย์ Michael Stephens

เอาเป็นว่าผมขอแปลแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากอ่านต้นฉบับก็เข้าไปดูได้ที่ ชื่อเรื่องด้านบนเลยนะครับ

สำหรับคำแนะนำ หรือขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาห้องสมุดของคุณให้เป็น ห้องสมุด 2.0
เริ่มจาก ?..

1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน)

เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย
แถมขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


2. Create an Emerging Technology Committee

ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด
เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ
โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้
เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ


3. Train staff to use an RSS aggregator

จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS

4. Experiment and use 2.0 Tools

รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
เช่น wikipedia, youtube, slideshare,?..
เมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย

5. Implement IM reference
การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ กลายเป็นห้องสมุด 2.0 ได้แล้วนะครับ
เอาเป็นว่าลองดูก่อนนะ ถ้าสนใจเรื่องไหนอย่างเป็นพิเศษ ลองแนะนำมาดู เดี๋ยวผมจะเขียนเน้นให้อีกที

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา