8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) เป็นเรื่องที่ทุกวงการให้ความสำคัญมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา นั่นคงเป็นเพราะความก้าวหน้าและการเติบโตของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทุกคนให้อยู่บนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ในวงการห้องสมุดเองก็เช่นกัน การทำการตลาดของห้องสมุดไม่ได้อยู่ในรูปแบบ 4P (Product Price Place Promotion) เหมือนที่เราเคยคิดและทำกันอีกแล้ว เราต้องทำความรู้จัก 4C เพิ่มเติม นั่นคือ Consumer Cost Convenience Communication

Read more
ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

ติดตาม Trend ในวงการห้องสมุดแบบง่ายๆ

เปิดเรื่องวันนี้ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับ การติดตามกระแสคำสืบค้น และ Trend ในวงการวิชาชีพแบบง่ายๆ และใช้เครื่องมือที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ให้เพื่อนๆ ทราบและลองใช้กันดู ไปดูเรื่องที่ผมเขียนเป็นตัวอย่างกันได้เลยครับ

กระแสคำสืบค้น “ห้องสมุด” ในวันที่ 17 สิงหาคม 2562 เวลา 19:37 น.

Read more
http://www.ala.org/tools/future/trends

ติดตามอนาคตห้องสมุดผ่านมุมมองของ ALA

อนาคตของห้องสมุดจะเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด
ในฐานะคนทำงานห้องสมุดเราต้องรู้อะไร แล้วเราต้องติดตามเรื่องไหนเป็นพิเศษ
วันนี้ผมขอแนะนำให้เราเข้าไปอ่าน “Library of the future” โดย ALA

Library Trends & Innovations

Library of the Future” ประกอบด้วยข้อมูล
– โครงการ “Center for the Future of Libraries”
– รายชื่อ Advisory Group
– Blog หรือ รวม feed บทความจาก ALA ที่น่าสนใจ
– Engage
– Trend

ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากเน้นให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก หลักๆ อยู่ที่หน้า Trend

ภายใต้หัวข้อ Trend ได้มีการแบ่งหมวดหมู่ของ Trend ออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

1) Society
2) Technology
3) Education
4) Environment
5) Politics (and Government)
6) Economics
7) Demographics

ซึ่งแต่ละกลุ่ม/หมวดหมู่จะแบ่งด้วยสีตามภาพที่ผมแนบมาด้วย

Trend Collection Color Key

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามี keyword อะไรที่น่าสนใจ ที่ทำให้เราต้องติดตามบ้าง

– Aging Advances
– Anonymity
– Badging
– Basic Income
– Blockchain
– Co-Working / Co-Living
– Collective Impact
– Connected Learning
– Connected Toys
– Corporate Influence
– Creative Placemaking
– Data Everywhere
– Design Thinking
– Digital Natives
– Drones
– Emerging Adulthood
– Experiential Retail
– Facial Recognition
– Fandom
– Fast Casual
– Flipped Learning
– Gamification
– Haptic Technology
– Income Inequality
– Internet of Things
– Maker Movement
– Privacy Shifting
– Resilience
– Robots
– Sharing Economy
– Short Reading
– Smart Cities
– Unplugged
– Urbanization
– Virtual Reality
– Voice Control

รวมทั้งหมด จำนวน 36 เรื่องที่น่าสนใจ
ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.ala.org/tools/future/trends

http://www.ala.org/tools/future/trends
http://www.ala.org/tools/future/trends

ตัวอย่างเมื่อเราเข้าไปแล้วจะมีเนื้อหา 3 ส่วนที่น่าสนใจ
1. เราจะนำไปใช้ยังไง
2. ทำไมมันถึงสำคัญ
3. link และเนื้อหาที่เอาไว้เรียนรู้เพิ่มเติม

Co-Working / Co-Living
Co-Working / Co-Living

เอาเป็นว่าอยากให้เข้าไปเรียนรู้กันเยอะๆ ครับ
ผมเองก็จะค่อยๆ อ่านและพยายามทำความเข้าใจทีละเรื่องเช่นกัน

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในห้องสมุด คือ

1. แนวโน้มเรื่อง Big Data / Data sciences / AI กำลังได้รับความนิยมที่สูงขึ้น (ไม่สนใจไม่ได้แล้ว)
2. ระบบห้องสมุดหลายๆ ตัวเริ่มมีการเพิ่มฟีเจอร์ในการทำรายงานโดยดึงข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ให้อัตโนมัติ (อันนี้ยังไม่เห็นในเมืองไทย ส่วนใหญ่บรรณารักษ์ดึงออกมาวิเคราะห์เอง)

Read more

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016

เมื่อวานนี้ผมได้เขียนเรื่อง “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559” โดยผมได้อ้างอิงเรื่องจาก David Lee King วันนี้ผมจะนำมาเปรียบเทียบกับ “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีปี 2016 ของ Gartner

Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ในสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่บทความเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีทุกปี โดยมักจะอธิบายออกมาในรูปแบบของ Hype Cycle ตัวอย่างดังภาพด้านล่างเป็นของปี 2015 Read more

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559

ปกติเวลาผมบรรยายเรื่องเทคโนโลยีของห้องสมุด ผมจะต้องเล่าเรื่อง TECHNOLOGY Trend ในวงการห้องสมุดให้เพื่อนๆ ฟังทุกครั้ง วันนี้ผมเลยขอนำมาเขียนใน Blog Libraryhub ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ฟังบรรยายได้อ่านกัน

trend tech library

เบื้องต้นทุกครั้งผมจะอ้างอิงจาก Slide ของคุณ David Lee King
(Digital Services Director at Topeka & Shawnee County Public Library) Read more

12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012

วันนี้ในขณะที่กำลังอ่านเรื่องแนวโน้มของการศึกษาในอนาคตอยู่ก็พบหัวข้อนึงที่น่าอ่านมากๆ ซึ่งเป็นเรื่อง “12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012” จึงอยากนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน (เพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดก็ลองอ่านได้นะ เผื่อเอามาประยุกต์กับวงการห้องสมุดของเราบ้าง)

ต้นฉบับของเรื่องนี้จริงๆ ชื่อว่า “12 Education Tech Trends to Watch in 2012” จากเว็บไซต์ http://mindshift.kqed.org

เรามาดู 12 หัวข้อการศึกษาที่น่าจับตามองในปี 2012 กันก่อนนะครับ
1. MOBILE PHONES – โทรศัพท์มือถือ
2. BYOD (BRING YOUR OWN DEVICE) – อุปกรณ์ที่พกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น notebook, netbook, ipod, tablet
3. BANDWIDTH ISSUES – การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
4. NATURAL USER INTERFACES – การตอบสนองกับผู้ใช้แบบธรรมชาติ เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง
5. WEB APPS – การใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
6. DATA – ข้อมูล
7. ADAPTIVE LEARNING – การเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
8. PRIVACY/SECURITY – ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัย
9. OPEN LICENSING – สัญญาการอนุญาตแบบเปิด
10. PEER TO PEER – การเชื่อมต่อแบบ peer to peer
11. THE MAKER MOVEMENT – การเคลื่อนไหว
12. GAMING – เกมส์

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็เข้าไปอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ต่อได้ที่ http://mindshift.kqed.org/2012/01/12-education-tech-trends-to-watch-in-2012/

เหตุผลที่ผมแนะนำเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ คือ อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นแนวโน้มของวงการศึกษา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์เราก็อยู่ในวงการศึกษาเช่นกัน) เมื่อวงการศึกษาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ก็ควรให้ความสนใจบ้าง บางประเด็นมันเริ่มเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็จะได้เตรียมตัวและพยายามทำความเข้าใจมันได้

เอาเป็นว่าวันหยุดแบบนี้เอาเรื่องวิชาการมาอ่านบ้างนะครับ อิอิ

12 Education Tech Trends to Watch in 2012

ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน

ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด

seattle_library_philipperuault_oma_270307

จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้

คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ

– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์


– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร

ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?