การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์

สรุปมาจนถึงหัวข้อที่หกแล้วนะครับสำหรับงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
หัวข้อ คือ IT Management in Medical Library (การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในห้องสมุดการแพทย์)
วิทยากรโดย นายแพทย์ธีรชัย ยงชัยตระกูล หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลเลิศลิน กรมการแพทย์

หัวข้อนี้จริงๆ แล้วมีเนื้อหาคล้ายๆ ของผมเลย แต่มีเนื้อหาต่างกันอยู่บ้างแหละ
ซึ่งโดยหลักๆ ท่านวิทยากรได้เล่าภาพห้องสมุดออกมาเป็น 3 มุมมองใหญ่ๆ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต

หัวข้อที่บรรยายเป็นการจุดประเด็นให้คิดและวิเคราะห์ตาม
เพื่อทำให้เรา รู้จักอดีต / เข้าใจปัจจุบัน / คาดเดาอนาคต ของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

ห้องสมุดสมัยโบราณ (Ancient Ages)
ห้องสมุดในอดีตคงต้องมองย้อนไปตั้งแต่เกิดห้องสมุดแห่งแรกของโลกบริเวณที่เกิดอารายธรรมเมโสโปเตเมียเลย (เมื่อ 4000 ปีก่อน) ในยุคนั้นมีการแกะสลักตัวอักษรลงในแท่นดินเหนียว ถัดมาจนถึงยุคของอียิปต์โบราณที่ใช้กระดาษปาปิรุสบันทึกข้อมูล ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง Royal Library at Dresden ที่บันทึกข้อมูลด้วยหนังสัตว์ และมีการนำหนังสัตว์มาเย็บรวมกันที่เรียกว่า Codex เป็นครั้งแรก

ภาพ Codex จาก http://extraordinaryintelligence.com

ห้องสมุดในยุคกลาง
ในยุคนี้จะพูดถึงเรื่องทวีปยุโรปได้มีการจัดสร้างห้องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ไล่ไปจนถึงจีนที่เริ่มมีการทำกระดาษครั้งแรกของโลก และการกำเนิดเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก โดย johannes gutenberg

ห้องคัดลอกหนังสือ จาก http://joukekleerebezem.com

ห้องสมุดในยุคใหม่
อันนี้เริ่มใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อย โดยนับเริ่มตั้งแต่การเกิด Library of congress ถัดมาก็เรื่องของการจัดหมวดหมู่หนังสือต่างๆ เช่น Dewey, UDC ไปจนถึงการเกิดโรงเรียนบรรณารักษ์ และการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือด้านบรรณารักษ์ระหว่างประเทศ…

คำอธิบาย หรือ ที่มาของคำว่า Librarian มีที่มาอย่างไร
Liber (Latin) = เปลือกด้านในของต้นไม้
Libraria (Latin) = ร้านหนังสือ
Librarie (anglo french)
Librarie (old-french) = cellection of books
Librarian = บรรณารักษ์
สมัยก่อนใช้คำว่า library-keeper

การจัดการสื่อในห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
– จากหนังสือ จะกลายเป็น Digital File
– จากชั้นหนังสือ จะกลายเป็น Storage Server

การจัดการด้านเครือข่ายในห้องสมุด
– การเข้าถึงข้อมูล จากต้องเข้ามาที่ห้องสมุด จะกลายเป็น เข้าที่ไหนก็ได้
– การเข้ารับบริการ จากต้องเข้าใช้ตามเวลาที่ห้องสมุดเปิด จะกลายเป็น เข้าได้ 24 ชั่วโมง

ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่างมาตรฐานของสมาคมห้องสมุด พ.ศ. 2552 โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแทรกอยู่ในหมวด 5, 7, 8

หลังจากที่พูดถึงภาพอดีตแบบกว้างๆ ไปแล้ว ทีนี้มาดูปัจจุบันกันบ้างดีกว่า

งานที่เกี่ยวกับสื่อในห้องสมุด และการบริการในห้องสมุด งานไอทีที่จำเป็นในงานดังกล่าวจะประกอบด้วย
– Server = ดูเรื่องของการจัดการ, ความปลอดภัย, ฐานข้อมูล
– Client = เครื่องของผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้าใช้งานได้ ตรวจสอบผู้ใช้ได้
– Network = มีให้เลือกทั้งแบบมีสายและไร้สาย (ปัจจุบันรพ.เลิศสิน เช่น leased line)
– Content = content ทั้งหมดสามารถเข้าผ่าน intranet ได้
– Software


ตัวอย่างระบบห้องสมุดในอนาคตที่คาดว่าจะเป็น :-
*** อันนี้น่าสนใจมากครับ
– Berkeley (1996 โมเดลเก่าของเขา แต่ใหม่ของเรา)
– Harvard University “Library digital Initiative”
– Stanford University “Digital Repository”

ภาพโมเดล Stanford University "Digital Repository"

“IT จะรับหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลแทนห้องสมุด หนังสือจะเปลี่ยนเป็น สื่อที่ใช้เก็บเพื่ออ้างอิงและสะสม”
ห้องสมุดจะเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ และ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนเป็นนักสารสนเทศ

50 เหตุผลที่บรรณารักษ์ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์ก็ควรยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น
ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการทำงาน การบริหารงาน รวมถึงเทคโนโลยี
ผมว่ามันก็ต้องมีเหตุผลของการที่ทำสิ่งใหม่เข้ามา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ก็แก้ปัญหาเดิมๆ ได้

และแน่นอนครับว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้บรรณารักษ์บางส่วนไม่พอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของงานไอที
คำถามหลักที่จะต้องเจอต่อมาคือ “ทำไมถึงไม่ยอมรับหรือเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆหล่ะ”

คำตอบของคำถามนี้อยู่ในแผนภาพด้านล่างนี้ครับ

ภาพนี้เป็นภาพจากบล็อก http://13c4.wordpress.com ซึ่งพูดถึงเรื่อง “50 เหตุผลที่ไม่ยอมเปลี่ยน

ในภาพอาจจะมองไม่ค่อยเห็น เอาเป็นว่าผมขอยกตัวอย่างมาสักเล็กน้อยแล้วกัน

– It’s too expensive
(มันแพงมาก – สงสัยผู้บริหารจะเป็นคนพูด)

– I’m not sure my boss would like it
(ฉันไม่มั่นใจว่าหัวหน้าของฉันจะชอบมัน – ตัดสินใจแทนผู้บริหารซะงั้น)

– We didn’t budget for it.
(พวกเราไม่มีงบประมาณสำหรับมัน – ไม่มีทุกปีเลยหรอครับ)

– Maybe Maybe not.
(อาจจะ หรือ อาจจะไม่ – ยังไม่ได้คิดอะไรเลย ก็ไม่ซะแล้ว)

– It won’t work in this department.
(มันไม่ใช่งานในแผนกเรา – แล้วตกลงเป็นงานของแผนกไหนหล่ะ)

– We’re waiting for guidance on that.
(พวกเรากำลังคอยคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ – แล้วตกลงอีกนานมั้ยหล่ะครับ)

– It can’t be done.
(มันไม่สามารถทำได้หรอก – แล้วคุณรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ ลองแล้วหรอ)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากแผนภาพนี้เท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่าเหตุผลบางอย่างในแผนภาพ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ยังฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่นะ

แต่ที่เอามาให้เพื่อนๆ ดูนี่ ไม่ได้หมายความว่าจะตำหนิหรือว่าอะไรใครหรอกนะครับ
เรื่องนี้อาจจะเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดอย่างไรกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องสมุดบ้าง

บทสรุป เรื่อง ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เมื่อวานผมเกริ่นไปแล้วว่าผมไปบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4) แล้วก็ทิ้งท้ายว่าผมจะสรุปการบรรยายของผมให้อ่าน วันนี้เลยขอทำหน้าที่ในส่วนนี้ต่อ เรื่องที่ผมบรรยายในงานนี้ คือ “ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เอกสารประกอบการบรรยายเพื่อนๆ สามารถชมได้จาก

หรือเปิดได้จาก http://www.slideshare.net/projectlib/ict-for-living-library-at-school

ดูสไลด์แล้วอาจจะงงๆ หน่อย งั้นอ่านคำอธิบายและบทสรุปของเรื่องนี้ต่อเลยครับ

บทสรุป ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เริ่มต้นจากการบรรยายถึงความหมายและบทบาทของบรรณารักษ์ยุคใหม่ หรือที่ผมชอบเรียกว่า cybrarian ซึ่งหลักๆ ต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษ์และความรู้ที่เกี่ยวกับไอที

จากนั้นผมจึงเปรียบเทียบว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้ไอที ซึ่งหลายๆ คนชอบมองว่าเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ผมจึงขอย้ำอีกครั้งว่า บรรณารักษ์ ไม่ใช่ โปรแกรมเมอร์ เราไม่ต้องรู้ว่าเขียนโปรแกรมอย่างไรหรอก แต่เราต้องรู้จัก เข้าใจ และนำโปรแกรมไปใช้ให้ถูกต้อง

ทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ (สำหรับห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน) ผมขอแยกเรื่องหลักๆ ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0


เมื่อเห็นทักษะไอทีที่ผมนำเสนอไปแล้ว เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าง่ายจะตาย ไม่ต้องทำงานซับซ้อนด้วย
แต่เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องง่ายๆ ของบรรณารักษ์ บางครั้งมันก็ส่งผลอันใหญ่หลวงอีกเช่นกัน

จากนั้นผมก็ให้ชมวีดีโอเรื่อง social revolution (คลิปนี้ถูกลบไปจาก youtube แล้ว โชคดีที่ผมยังเก็บต้นฉบับไว้)

จากนั้นผมก็ได้พูดถึง social media tool ว่ามีมากมายที่ห้องสมุดสามารถนำมาใช้ได้
เช่น Blog email msn facebook twitter youtube slideshare Flickr

ซึ่งผมขอเน้น 3 ตัวหลักๆ คือ blog, facebook, twitter โดยเอาตัวอย่างของจริงๆ มาให้ดู
Blog – Libraryhub.in.th
Facebook – Facebook.com/kindaiproject / Facebook.com/Thlibrary
twitter – twitter.com/kindaiproject

จากนั้นผมก็ฝากข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย

เอาเป็นว่าสไลด์นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ไว้วันหลังผมจะถยอยนำสไลด์มาขึ้นเรื่อยๆ นะครับ
จริงๆ ไปบรรยายมาเยอะแต่เพิ่งจะได้เริ่มเขียนเรื่องเล่าเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ อ่าน

วันนี้ก็ขอลาไปก่อนครับ


แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian

เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.

ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion

จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม

ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)

เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…

คำคมจาก 3 ผู้นำด้านระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า
คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ
ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds

หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว
เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS)

Bill Gates ? Microsoft
Steve Jobs ? Apple
Linus Torvalds ? Linux

เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft

– 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง)

– 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ)

– 2004 : Spam will be a thing of the past in two years? time. (สแปมมากๆ ก็ไม่ดีนะ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Steve Jobs ? Apple

– 1991 : What a computer is to me is the most remarkable tool that we have ever come up with. It?s the equivalent of a bicycle for our minds. (เทคโนโลยี คือ อนาคต)

– 1997 : The products suck! There?s no sex in them anymore! (เหอๆๆๆๆ)

– 2006 : Our friends up north spend over five billion dollars on research and development and all they seem to do is copy Google and Apple. (จริงดิ โฮ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Linus Torvalds ? Linux

– 1991 : I?m doing a (free) operating system (just a hobby, won?t be big and professional like gnu) for 386(486) AT clones. (นี่แหละอำนาจแห่งการแบ่งปัน)

– 1998 : My name is Linus Torvalds and I am your god. (มีงี้ด้วย)

– 2007 : I have an ego the size of a small planet. (ครับต้องทำภายใต้โลกใบนี้ด้วย)

??????????????????????-

เป็นไงบ้างครับ ขั้นเทพจริงๆ เลยปล่าว แต่ที่ผมนำมาให้อ่านแค่ตัวอย่างเท่านั้นเองนะครับ
ถ้าใครอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็เข้าไปดูได้ที่ http://royal.pingdom.com/?p=325

Sources:
Images from Wikimedia Commons: Bill Gates, Steve Jobs, Linus Torvalds.
Quotes found on Wikiquote.org.

เมื่อโลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา (Iconscrabble)

วันนี้เจอของเล่นแปลกๆ แต่น่าสนใจก็เลยขอนำมาแนะนำสักนิดนึง
เว็บไซต์นี้จะช่วยสร้างไอคอนโดยนำโลโก้จากเว็บต่างๆ มาเรียงเป็นชื่อคุณ

เว็บไซต์นี้ ชื่อว่า “Iconscrabble” – http://iconscrabble.com
แนวคิดของเว็บไซต์นี้คือ พิมพ์ ค้นหา แชร์ (Type. Discover. Share)
ง่ายๆ ครับ แค่กรอกชื่อที่ต้องการลงในช่อง (ไม่เกิน 18 ตัวอักษร) แล้วกด scrabble

คุณก็จะได้โลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา ตัวอย่างเช่น
– Maykin

– Projectlib

– Libraryhub

และตัวสุดท้ายนี้แด่ Social Media


20 ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรมี…

เรื่องที่ผมนำมาเขียนในวันนี้ เป็นเรื่องที่ผมนำมาจาก เรื่อง “20 Technology Skills Every Librarian Should Have
ที่เขียนโดยบล็อก theshiftedlibrarian และเรื่องนี้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2005
ผมเห็นว่าบรรณารักษ์ในเมืองไทยบางหนึ่งยังขาดทักษะด้านไอทีหลายอย่าง ดังนั้นผมจึงขอนำมาเรียบเรียงและแปลให้เพื่อนๆ อ่านกัน

it-librarian

พอพูดถึงเรื่องไอที บรรณารักษ์หลายๆ คนมักจะมองไปถึงเรื่องการเขียนโปรแกรมหรือการใช้โปรแกรมขั้นสูงต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากๆ และความเข้าใจผิดนี้ทำให้บรรณารักษ์หลายๆ คนกลัวเทคโนโลยีกันไปเลย

แล้วตกลงทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้มีเรื่องอะไรบ้างหล่ะ
ผู้เขียนก็ไปเสาะแสวงหาและเจอบทความนึงเรื่อง “20 Technology Skills Every Educator Should Have”
และเมื่ออ่านแล้วบอกได้คำเดียวว่าตรงมากๆ และบรรณารักษ์นี่แหละก็ควรมีทักษะไอทีแบบเดียวกันนี้

โดยสรุปทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 20 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Word Processing เช่น Word หรือ? writer
2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Spreadsheets เช่น Excel หรือ Calc
3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Database เช่น Access หรือ Base หรือ SQL ….
4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Presentation เช่น Powerpoint หรือ Impress
5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์
6. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์
7. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ E-mail
8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องดิจิทัล
9. ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟล์และการจัดเก็บไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
11. ความรู้เกี่ยวกับการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
12. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
13. ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์
14. ความรู้เกี่ยวกับการประชุมทางออนไลน์ หรือประชุมทางไกลดดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
15. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสค์
16. ความรู้เกี่ยวกับการสแกน (Scanner)
17. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
18. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ขั้นสูง เช่น ระบบการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ การสืบค้น
19. ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
20. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ป้องกันไวรัส โทรจัน…

นอกจาก 20 ข้อนี้แล้ว ผู้เขียนยังขอเพิ่มในเรื่องทักษะ การใช้งาน Blog, IM, RSS, Wiki, …… อื่นๆ อีก
ซึ่งจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ เพื่อนๆ ว่าเพื่อนๆ มีทักษะด้านไอทีครบถ้วนหรือไม่

บางอย่างที่ยังไม่รู้ก็ลองหาที่ศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ
หากสงสัยในทักษะอย่างไหนบอกผมนะครับ จะได้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้รับทราบครับ
สำหรับวันนี้บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างเราต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลานะครับ…จะได้ไม่เป็นบรรณารักษ์ตกเทรนด์

ภาพช็อตเด็ด ?คนดังแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์?

เรื่องเก่าเล่าใหม่ เอามาให้ดูแบบขำขำ นะครับ

วันนี้ผมของเอาภาพผู้นำแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์มาฝากเพื่อนๆ นะครับ

photo-ceo-it-website

เป็นภาพปัจจุบัน และ ภาพช็อตเด็ด ที่เพื่อนๆ อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่จะเด็ดสักแค่ไหนไปดูกันเลย ดีกว่า

หมายเหตุ รูปด้านซ้าย คือ รูปในปัจจุบัน ส่วนรูปทางขวาดูเอาเอง

????????????????????????

1. Linus Torvalds, Linux

linus-torvalds

ขอแซว Linus Torvalds, Linux ? เวลาท่านใส่เสื้อเชิ้ตนี่ไม่เหมาะเลย ใส่เสื้อโปโลแหละครับดีแล้ว

????????????????????????

2. Bill Gates, Microsoft

bill-gates

ขอแซว Bill Gates, Microsoft ? แหมรูปตอนสมัยวัยรุ่นนี้จ๊าบไปเลยท่าน

????????????????????????

3. Steve Jobs, Apple

steve-jobs

ขอแซว Steve Jobs, Apple ? ท่านเป็นสุดยอดแห่งความฮิปปี้มากๆ หน้าของท่านเปลี่ยนตลอดเลยนะครับ แต่ผมว่าทรงผมปัจจุบันเท่ห์สุดๆ

????????????????????????

4. Jeff Bezos, Amazon

jeff-bezos

ขอแซว Jeff Bezos ? ผมว่าเวลาท่านขรึมนี่ดูดีนะครับ แต่เวลาท่านอยู่ข้างผู้หญิงท่านน่าจะเก็บอารมณ์หน่อยนะครับ อิอิ

????????????????????????

5. Sergey Brin, Google

sergey-brin

ขอแซว Sergey Brin ? ใครบังอาจตัดต่อ หน้าของท่านนี่ รับไม่ได้ ว๊ากกกกกก

????????????????????????

6. Jakob Nielsen, Useit.com

jakob-nielsen

ขอแซว Jakob Nielsen ? โหท่านสมัยหนุ่มๆ แว่นหนาขนาดนั้นเลยหรือ สุดยอดมาเป็นบรรณารักษ์ดีกว่ามา?.

????????????????????????

7. Kevin Rose, Digg

kevin-rose

ขอแซว Kevin Rose ? ท่านเป็นผู้ชายจริงๆ ช่ายมั้ยครับ ทำไมคนแซวเค้าบอกว่ารูปนี้อยู่ในอ้อมแขนแห่งรักแท้?. เอ๊ะ หมายความว่าไงเนี้ย

????????????????????????

8. Steve Ballmer, Microsoft

steve-ballmer

คนนี้ผมไม่แซวอะไนมากดีกว่า เอาเป็นว่าขอมอบคลิปวีดีโอนี้ให้ดูแทน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tGvHNNOLnCk[/youtube]

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับแบบว่าหลายๆ คนเปลี่ยนลุคกันไปเลยก็ว่าได้
จริงๆ ผมอยากเห็น CEO ด้านไอทีของเมืองไทยบ้างนะครับ อิอิ

ที่มา จากเรื่อง IT bigshots as you?re not used to seeing them จากเว็บ Pingdom

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/

หนึ่งวันกับงานบรรณารักษ์ด้านไอที

เพื่อนอยากรู้มั้ยว่าบรรณารักษ์ไอทีวันๆ นึงต้องทำงานอะไรบ้าง
วันนี้ผมขอนำ Job Description ของงานในตำแหน่งนี้มาให้เพื่อนๆ ดูครับ

it-librarian

ปล. ที่นำมาให้ดูนี้เป็นงานที่ผมทำสมัยตอนเป็นบรรณารักษ์ไอทีอยู่ที่ห้องสมุดแห่งนึงนะครับ
และงานบรรณารักษ์ไอทีแต่ละห้องสมุดอาจจะมีหน้าที่ๆ แตกต่างกว่านี้ก็ยังมีเช่นกัน
ดังนั้น
กรุณาอย่ายึดติดว่าบรรณารักษ์ไอทีทุกห้องสมุดจะเหมือนกัน

บรรณารักษ์ไอทีมีภาระกิจ ดังนี้

1. ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำหรับโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

2. จัดทำ Homepage และ Website ห้องสมุดโดยกำหนด Website ต่างๆ ในการให้บริการ

3. ประสานงานการจัดทำ Website กับเจ้าหน้าที่ของสถาบันการศึกษา

4. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office / โปรแกรมตกแต่งภาพ / การสแกนภาพและตัวอักษร / การจัดทำ link ข้อมูลในส่วนต่างๆ / โปรแกรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับสำนักหอสมุด

5. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของสำนักหอสมุด

6. จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์งานบริการห้องสมุดและให้บริการ Internet

7. รับผิดชอบการจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้บริการผ่านเครือข่าย Internet
7.1 E-book
7.2 E- journal
7.3 E-Document

8. Update ข่าวสารและสารนิเทศใหม่บน Website

9. บริการสืบค้นสารนิเทศผ่านระบบเครือข่าย Internet

10. จัดการแปลงไฟล์ / คัดลอกไฟล์ต่างๆ เพื่อออกให้บริการกับผู้ใช้

11. จัดหารวบรวมสื่อโสตทัศนวัสดุ

12. ดูแลรักษาเครือข่ายระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

13. ดูแลห้องประชุมกลุ่มเมื่อมีการติดต่อของใช้งาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ภาระหน้าที่เยอะเกินไปหรือปล่าว จริงๆ แล้วนอกจากภาระงานด้านบนนี้แล้ว
งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการ บรรณารักษ์ไอทีก็ต้องทำด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการยืมคืน การตอบคำถาม และอื่นๆ

เอาเป็นว่าใครอยากเป็นบรรณารักษ์ด้านไอทีก็ลองเอามาศึกษา แล้วลองคิดดูดีๆ นะครับ
ว่า “ถ้าเจองานแบบนี้เพื่อนๆ จะยังอยากเป็นบรรณารักษ์ไอที” อยู่หรือปล่าว